คำคม

ปัญหามีไว้ให้หาปัญญา อุปสรรคมีไว้ให้ฝึกหาทางออก วันไหนที่มีความสุข วันนั้นอย่าทำความสุขในชีวิตหล่นหาย

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คิดอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น

จิตของเรานี้มีพลัง คิดอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ใจเป็นประธาน ใจเป็นหัวหน้า แต่พวกเรามักไม่ค่อยให้ความสำคัญกับจิตใจของตัวเองเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่เราทุกคนอยากจะมีีความสุข แต่จิตใจของตนกลับปล่อยให้คิดฟุ้งซ่านไปตามกิเลสตัณหา ซึ่งเป็นการสร้างทุกข์เพิ่มขึ้น ๆ เช่น อยากจะรวย อยากจะมีแฟน อยากจะได้ยศ ตำแหน่ง

ความอยากจะมี แสดงถึง ความไม่ีมี
ความอยากจะรวย แสดงว่า จน


เท่ากับเราไม่มีความพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ของตัวเอง ความคิดอยาก ๆ เป็นกิเลสตัณหาซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
ในทางตรงกันข้าม หากจิตใจเรามีความสันโดษ มีความพอใจในสิ่งที่เรามี เราก็จะมีความสุขได้ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม คำสอนให้รู้จักสันโดษนี้ ไม่ได้สอนให้คนเกียจคร้านในการทำหน้าที่การงาน ทำให้ชีวิตไม่เจริญก้าวหน้า พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องสันโดษเพื่อให้เรารู้จักพอใจกับสิ่งที่ตนมีอยู่ สิ่งที่ตนได้มา แต่ในการดำเนินชีวิตพระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรามีอิทธิบาท ๔ ซึ่งหมายถึง ทางแห่งความสำเร็จในกิจอันเป็นกุศล มี ๔ ประการคือ

๑. ฉันทะ มีความพอใจในสิ่งที่ทำ
๒. วิริยะ ความเพียรพยายามตั้งใจทำสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ จิตใจจดจ่อกับสิ่งที่ทำอยู่
๔. วิมังสา ใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ หาเหตุผล เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

ดังนั้น เมื่ออยากจะประสบความสำเร็จในสิ่งใด ก็ให้ตั้งเป้าหมายไว้ตามสมควรแก่ฐานะ ให้จิตใจตั้งมั่นไว้ที่ผลสำเร็จ และปฏิบัติตามหลักอิทธิบาท ๔ แต่ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร เราก็มีความสุขอยู่ได้ในปัจจุบัน

เมื่อมีจิตใจดี มีความสบายใจแล้ว
โอกาสที่ชีวิตจะประสบความสำเร็จ
ในสิ่งที่ปรารถนาก็มีมากขึ้น

แม้จะรับประกันไม่ได้ เพราะตามธรรมชาติของวัฏสงสารก็ไม่แน่นอน ไม่มีใครรอดพ้นไปจากความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ได้ แต่ในแ่ง่จิตใจเราก็ไม่ต้องทุกข์ร้อนอะไร หากไม่ได้ในสิ่งที่ปรารถนา ก็ให้เข้าใจว่า

เมื่อเราตั้งใจทำดีที่สุดด้วยใจที่สงบ
เราได้ทำเหตุที่ดีแล้ว
ก็ต้องยอมรับผลด้วยใจที่สงบเหมือนกัน

เรื่องสุขภาพร่างกายของเราก็เหมือนกัน ถึงแม้เราสุขภาพไม่ดี กำลังป่วยอยู่ก็ตาม แต่ถ้าเราคิดกังวลอยู่ตลอดเวลา เราไม่สบาย ๆ เมื่อจิตใจคิดวนเวียนอยู่อย่างนี้ ความคิดในแง่ลบของเราก็มีอิทธิพลทำให้สุขภาพกายแย่ลง

ในทางตรงกันข้าม ให้เราคิดในแง่บวก เช่น สมมติว่าเป็นโรคหัวใจ ก็ให้กำหนดจิตเพ่งไปที่หัวใจ หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ หายใจสบาย ๆ ส่งกระแสความรู้สึกที่ดี แผ่เมตตาไปที่ "หัวใจ" จินตนาการ ในทางบวกว่า หายแล้ว ทำอย่างนี้บ่อย ๆ ทุก ๆ วัน ในส่วนของการรักษาทางกาย ก็กินยา ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ตามปกติ ปฏิบัติตามนี้แล้วสุขภาพจิตก็จะดีขึ้น มีกำลังใจ โอกาสที่สุขภาพกายจะดีขึ้นก็มีมาก
ขอขอบคุณ http://www.gotoknow.org/posts/532353

นิทาน "ตำนานขนม ค-ร-ก"(คน-รัก-กัน)






ไอ้กะทิ หนุ่มน้อยแห่งดงมะพร้าวเตี้ย  แอบมีความรักกับ หนูแป้ง สาวสวยประจำหมู่บ้านซึ่งเป็นลูกสาวคนเดียวของผู้ใหญ่บ้าน  ทั้งคู่เจอกันวันลอยกระทง  และสัญญากันต่อหน้าพระจันทร์ ไม่ว่าข้างหน้าแม้จะมีอุปสรรคขวางกั้นเพียงใด ทั้งคู่ก็จะขอยึดมั่นความรักแท้ที่มีต่อกันชั่วฟ้าดินสลาย
ไอ้กะทิ ก้มหน้าก้มตาเก็บหอมรอมริบหาเงินเพื่อมาสู่ขอลูกสาวจากผู้ใหญ่บ้าน แต่กลับถูกปฏิเสธแถมยังโดนผู้ใหญ่ส่งชายฉกรรจ์พร้อมอาวุธครบมือมาลอบทำร้าย  แต่ไอ้กะทิก็ไม่ว่ากระไร  มันพาร่างอันสะบักสะบอมกลับไปบ้าน นอนหยอดน้ำข้าวต้มซะหลายวัน  แต่ใจยังตั้งมั่นว่า วันหน้าจะมาสู่ขอหนูแป้งใหม่จนกว่าผู้ใหญ่จะใจอ่อน 
แต่แล้วความฝันของไอ้กะทิ ก็พังพินาศเมื่อผู้ใหญ่ยก หนูแป้ง ลูกสาวคนสวยให้แต่งงานกับปลัดหนุ่มจากบางกอก  ไอ้กะทิ รู้ข่าวจึงรีบกระเสือกกระสนหมายจะมายับยั้งการแต่งงานครั้งนี้   ซึ่งผู้ใหญ่บ้านก็วางแผนป้องกันไว้แล้ว  โดยขุดหลุมพรางดักรอไว้ แต่แม่แป้งแอบได้ยินแผนร้ายเสียก่อน จึงลอบหนีออกมาหมายจะห้ามหนุ่มคนรักไม่ให้ตกหลุมพราง 
คืนนั้นเป็นคืนเดือนแรม หนูแป้งวิ่งฝ่าความมืดออกมาเพื่อดักหน้าไอ้กะทิ   ไอ้กะทิเห็นหนูแป้งวิ่งมาก็ดีใจทั้งคู่รีบวิ่งเข้าหากัน  ฉับพลัน!!...ร่างของหนูแป้งก็ร่วงหล่นลงไปในหลุมพรางของผู้ใหญ่ฯผู้เป็นพ่อ  ต่อหน้าต่อตาไอ้กะทิ  อารามตกใจนายกะทิก็รีบกระโดดตามลงไปเพื่อช่วยเหลือหนูแป้ง  อารามดีใจสมุนชายฉกรรจ์ของผู้ใหญ่บ้านซึ่งแอบซุ่มอยู่   ก็รีบเข้ามาโกยดินฝังกลบหลุมที่ทั้งคู่หล่นลงไป  เพราะคิดว่าในหลุมมีเพียงไอ้กะทิผู้เดียว ... 
รุ่งเช้าผู้ใหญ่บ้านสั่งให้ขุดหลุมเพื่อดูผลงาน  แทบไม่เชื่อสายตาเบื้องล่างปรากฏร่างของ ไอ้กะทิตระกองกอดทับร่างหนูแป้งลูกสาวของตน  ทั้งสองนอนตายคู่กันอย่างมีความสุข  เมื่อรอยยิ้มถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตา  ผู้ใหญ่บ้านรำพึงต่อหน้าศพของลูกสาวว่า..
"พ่อไม่น่าคิดทำลายความรักของลูกเลย"
ตั้งแต่นั้นมาอนุสรณ์แห่งความรักที่กระทำสืบทอดกันมาจนเป็นประเพณี ทุกแรม ๖ ค่ำ เดือน ๖ ชาวบ้านที่ศรัทธาในความรักของไอ้กะทิ กับ แม่แป้ง ก็จะตื่นตั้งแต่เช้ามืด เข้าครัวเพื่อทำขนมที่หอมหวานปรุงจากแป้ง และกะทิ บรรจงหยอดลงหลุม  พอสุกได้ที่ก็แคะจากหลุม แล้วนำมาวางคว่ำหน้าซ้อนกันเป็นสัญลักษณ์ว่า "จะได้อยู่ร่วมกันตลอดไป"  ขนมนี้จึงถูกเรียกขานกันในนาม "ขนมแห่งความรัก" หรือ ขนม คน-รัก-กัน ต่อมาถูกเรียกย่อ ๆ ว่า 'ขนม ค-ร-ก' นั่นเอง



ขนม ค ร ก จึงเป็นขนมที่คนนิยมกินกันจนทุกวันนี้
ดัดแปลงและเรียบเรียงจาก... (นว.สส.)
http://www.everykid.com/nitan2/thelover/

วิกฤติคือโอกาสทอง

ณ กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีชาวนาคนหนึ่ง
เลี้ยงลาไว้ตัวหนึ่งซึ่งแก่มากแล้ว
ด้วยความโง่ของมันดันเดินซุ่มซ่าม
ไปตกบ่แห่งหนึ่ง มันร้องครวญคราง
อยู่เป็นเวลานาน ชาวนาเอง
ก็พยายามใคร่ครวญ
หาวิธีที่จะช่วยมันขึ้นมา

ในที่สุดชาวนาหวนคิดขึ้นมาได้ว่า
เจ้าลาก็แก่เกินไปแล้ว อีกอย่าง
บ่อนี้ก็ต้องกลบไม่คุ้มที่จะช่วยเจ้าลา
ชาวนาจึงไปขอแรงชาวบ้าน
เพื่อมาช่วยกลบบ่อ ทุกคนใช้พลั่ว
ตักดินสาดลงไปในบ่อ ครั้งแรก
เมื่อดินถูกหลังลา มันตกใจ
และรู้ชะตากรรมของตนเองทันที
มันร้องโหยหวน สักพักหนึ่ง
ทุกคนก็แปลกใจที่เจ้าลาเงียบไป



หลังจากชาวนาตักดินใส่บ่อได้สักสองสาม
พลั่ว เมื่อเหลือบมองลงไปในบ่อ ก็พบกับ
ความประหลาดใจที่ลามันจะสะบัดดินออกจาก
หลังทุกครั้งที่มีผู้สาดดินลงไป แล้วก้าวขึ้นไป
เหยียบบนดินเหล่านั้น
ยิ่งทุกคน พยายามเร่งระดม
สาดดินลงไปมากเท่าไร
มันก็ก้าวขึ้นมาเร็วได้มากยิ่งขึ้น
ในไม่ช้าทุกคนต่างประหลาดใจในที่สุด
เจ้าลาสามารถหลุดพ้นจากปากบ่อดังกล่าวได้

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
ชีวิตนี้อุปสรรคต่างๆ ที่ถาโถม
เข้ามาหาเราก็เปรียบเหมือน
ดินที่สาดเข้ามาหาเรา จงอย่า
ท้อถอยและยอมแพ้ จงแก้ไขมัน
เพื่อที่จะก้าวสูงขึ้นเรื่อยๆ
เปรียบเหมือนลาแก่ที่หลุดพ้น
จากบ่อได้ ฉันใดฉันนั้น

อุปสรรคมีไว้ให้ก้าวข้ามไป



ชีวิตคนเราก็เช่นกัน
เราก็ต้องประสบกับโลกธรรมแปดเป็นธรรมดา
คือ ได้ลาภ ได้ยศ สรรเสริญ สุข
ก็ต้องมีเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์
แต่เมื่อเรามีทุกข์ มีปัญหา
หรือต้องประสบกับวิกฤติหนักหนาสาหัสแค่ไหน
ก็ให้อาศัยขันติ มีความอดทน

เมื่อมีความทุกข์ หยุดทำ หยุดพูด หยุดคิด
ตั้งสติใช้ปัญญา อาศัยอดทน อดกลั้น
หยุดทุกสิ่งทุกอย่างไว้ก่อน
ไม่ต้องคิดที่จะแก้ปัญหาภายนอก




กำหนดรู้ลมหายใจออกยาวๆ ลมหายใจเข้าลึกๆ
ให้มีสติ มีความรู้สึกตัวกับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
ติดต่อกัน ต่อเนื่องกัน มีสมาธิตั้งมั่นกับลมหายใจ
ปล่อยวางความรู้สึกที่ไม่ดี ปล่อยวางจิตใจให้ว่างๆ
ว่างจากอดีต ว่างจากอนาคต ว่างจากความไม่สบายใจ
เหลือแต่จิตที่มีแต่ความรู้สึกตัว เบิกบานใจ
โอปนยิโก น้อมเข้าไปหาธรรมชาติของจิตที่เป็นประภัสสร
บริสุทธิ์ผ่องใส เมื่อจิตสงบสบายแล้ว
จึงค่อยๆ คิดแก้ปัญหาด้วยสติปัญญา เมื่อจิตใจดี
สบายใจทุกอย่างแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะค่อยๆ ดีขึ้น
ให้มีความหวัง กำลังใจที่จะต่อสู้



ทุกข์ที่สุดอยู่ที่ไหน
ขุมทรัพย์ก็มีอยู่ที่นั่น

ทุกข์ที่สุดอยู่ที่ไหน
สุขที่สุดมันก็อยู่ที่นั่น
นี่เป็นความจริง

ไม่ว่าจะมีวิกฤติ
หรือเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นกับเรา
สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตคือรักษาใจของเราให้ดี
ให้มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
เป็นคุณธรรมประจำใจของเรา

ตั้งใจทำความดี
รักษาคุณงามความดี ความถูกต้อง
ด้วยจิตใจที่หนักแน่น
ไม่หวั่นไหวในทุกสถานการณ์
ให้ชีวิตทั้งหมดอยู่ด้วยอานาปานสติ
คือทำหน้าที่ปัจจุบันให้ดีที่สุด
ด้วยใจดี สุขใจ






คัดลอกบางตอนมาจาก
หนังสือ...มีขันติ คือ ให้พรแก่ตัวเอง
โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

วิธีอยู่กับ "ทุกข์" ให้เป็น "สุข" ... (ท่าน ว.วชิรเมธี)

นักปรัชญาตะวันตกหลายคนเมื่อหันมาศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างผิวเผิน ก็มักจะด่วนสรุปว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนให้มองโลกในแง่ร้าย อาร์เทอร์ โชเพนเฮาเออร์ นับเป็นหนึ่งในปรัชญาตะวันตกที่มีความเชื่อเช่นนี้ เขาจึงสรุปว่า "ชีวิตไม่มีอะไรมากหรอก นอกจากเป็นเพียงลุกตุ้มที่แกว่งไปมาระหว่างความทุกข์กับความเบื่อหน่าย" โช เพนเฮาเออร์ไม่ได้เชื่ออย่างนี้คนเดียว เขาทำให้คนอีกมากมายในโลกนี้เชื่อตามเขาไปด้วย พระพุทธศาสนาเลยพานถูกเหมารวมให้เป็นศาสนาที่สอนให้มองโลกในแง่ร้ายไปโดย ปริยาย
แท้ที่จริงแล้วพระพุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนาที่สอนให้มองโลกในแง่ดี (Optimism) หรือ มองโลกในแง่ร้าย (Pessimism) แต่พระพุทธศาสนาสอนให้มองโลกตามความเป็นจริง (Realism) นั่นคือ มองโลกอย่างที่โลกมันเป็น ไม่ใช่อย่างที่เราอยากให้เป็น
"ความทุกข์" เป็นความจริงอย่างหนึ่งที่มีอยู่คู่กับโลก แต่ "ความสุข" ก็เป็นความจริงอีกอย่างหนึ่งที่เคียงคู่มากับความทุกข์ด้วยเช่นกัน และโลกก็ไม่ได้มีเพียงความสุขความทุกข์สองอย่างนี้เท่านั้น ทว่าโลกนี้ยังมีภาวะที่เรียกว่า "เหนือสุขเหนือทุกข์" อยู่อีกด้วย
คน ที่มองโลกตามความเป็นจริง ยามมีความทุกข์จึงไม่ท้อ และยามมีความสุขจึงไม่หลงติดในความสุขจนเกินพอดี เพราะเขาย่อมเข้าใจเป็นอย่างดีว่า ยังมีภาวะที่ประเสริฐกว่าความสุขอยู่อีก นั่นคือ การอยู่เหนือทั้งสุขทั้งทุกข์ตลอดกาล
อย่าง ไรก็ตาม แม้โลกจะมีสุขและทุกข์ปกกันไป แต่ดูเหมือนว่าช่วงเวลาแห่งความสุขของคนเรานั้นมักจะแสนสั้นเสียเหลือเกิน วันหนึ่ง ๆ ชีวิตช่างคลุกคลีตีโมงอยู่กับเรื่องราวที่ทำให้ทุกข์ตั้งร้อยแปดพันเก้าไม่ รู้จบสิ้น ทำอย่างไรดีนะเราจึงจะออกมาจากความทุกข์ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หรือถึงไม่ออกมาอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ก็ขอแต่เพียงอยู่กับความทุกข์อย่างเป็นมิตรก็พอแล้ว

เรามาลองเรียนรู้วิธีอยู่กับความทุกข์ให้เป็นสุขกันดีกว่า

๑. อยู่กับความจริง ทิ้งความกังวล ความ ทุกข์หลายอย่างในชีวิตของเรา ถ้าว่ากันตามเนื้อผ้าแล้วสัดส่วนของความทุกข์จริง ๆ จะมีไม่มาก แต่บางครั้งที่รู้สึกทุกข์มาก ๆ เป็นเพราะว่าเราสร้างภาพความทุกข์นั้นให้ใหญ่โตเกินจริง เช่น ใครบางคนพอรู้ว่าจะไปสอบสัมภาษณ์วันพรุ่งนี้ คืนนั้นทั้งคืนนอนไม่หลับ คิดโน่นคิดนี่วุ่นวายไปหมด กลัวว่าจะสอบสัมภาษณ์ไม่ผ่าน กลัวว่าจะตอบคำถามไม่ได้ กลัวว่าเสื้อผ้าที่สวมใส่จะดูไม่ดี กลัวว่าหน้าจะไม่ใส กลัวว่าความรู้ความสามารถของตัวเองจะไม่สอดคล้องกับที่บริษัทนั้น ๆ ต้องการ กลัวว่ารถจะติดแล้วไปสาย หรือสุดท้ายกลัวว่าถ้าไปสอบสัมภาษณ์ไม่ผ่าน คนที่บ้าน เพื่อน พ่อแม่ จะปรามาสว่า เอาดีไม่ได้
เรา กลัวไปสารพัด อย่าง ทั้ง ๆ ที่ในสถานการณ์จริง สิ่งที่เรากลัวมาตั้งสิบอย่างนั้นอาจเกิดขึ้นจริงเพียงอย่างเดียงเท่านั้น แต่กว่าจะรู้เช่นนี้ได้ เราก็ปล่อยให้ความทุกข์ที่เรากังวลนั้นทำร้ายเรามาแล้วทั้งคืน
นี่แหละคือความทุกข์ที่เกิดจากการสร้างภาพของเราเอง
ความทุกข์อย่างนี้เรียกว่า ทุกข์เพราะอุปทาน
หรือทุกข์เพราะฉันสร้างมันขึ้นมาเองจากความกังวล
ทุกข์อย่างนี้ บางทีร้ายกว่าตัวความทุกข์จริง ๆ ที่เรากำลังเผชิญอยู่ด้วยซ้ำไป
ดัง นั้น หากเรากำลังทุกข์ด้วยเรื่องใด ลองถามตัวเองดูซิว่า สิ่งที่กังวลอยู่นั้นมันน่ากลัวจริง ๆ หรือว่าเป็นเพียงสิ่งที่เราสร้างมันขึ้นมากันแน่ ลองแยกทุกข์แท้ ๆ ออกจากความกังวลให้ได้ แล้วจะเห็นว่า ทุกข์แท้ ๆ ที่ควรทุกข์มีอยู่นิดเดียวเอง


๒. ฝึก "ช่างมัน" ให้เคยชิน วิธี คลายทุกข์ประการที่สองนี้ก็ลองสืบเนื่องมาจากตัวอย่างข้างต้น เราจะเห็นว่า การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมทุกวันนี้ สิ่งที่คนเราแคร์มากที่สุด นอกจากเรื่องราวของตัวเองแล้ว ก็คือ "สังคม" หรือ "สายตาของคนอื่น"
"สายตาของคนอื่น" นั้นมีอิทธิพลต่อความทุกข์ความสุขในชีวิตของคนเรามาก เราจะเป็นอย่างไร จะใช้ชีวิตอย่างไร ความจริงก็น่าจะเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเราเองล้วนๆ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง เรามักไม่เชื่อมั่นในวิจารณญาณของตัวเอง เรามักคิดเสมอว่า เมื่อเราเป็นอย่างนี้ พูดอย่างนี้ ทำอย่างนี้ เดินอย่างนี้ ใช้ชีวิตอย่างนี้ คบเพื่อนคนนี้ ใช้โทรศัพท์รุ่นหรือยี่ห้อนี้ ชอบนักดนตรีคนนี้ ใช้เครื่องสำอางยี่ห้อนี้ หรือแม้กระทั่งอ่านนิตยสารชื่อนี้ แล้วคนอื่นจะมองเราอย่างไร หรือตัวตนของฉันในสายตาคนอื่นจะเป็นอย่างไร
"สายตาของคนอื่น" คือสไตลิสท์ตัวจริงที่คอยจับเราเหวี่ยงไปเหวี่ยงมาจนสูญเสียความเป็นตัวของ ตัวเอง คนบางคนทั้งชีวิตแบบไม่มีช่องว่างให้ความสุขได้เล็ดลอดเข้ามาในผืนแผ่นดินใจ เลย เพราะมัวแต่ใช้ชีวิตตามที่สังคมคาดหวัง เกรงว่าถ้าไม่แสดงตนอย่างที่คนทั่วไปเขาคาดหวัง "อัตลักษณ์" ของตัวเองจะหายไป หรือจะถูกลดความสำคัญลง
นี่ละคือความทุกข์ที่เกิดจากการบริโภคอัตลักษณ์ของคนร่วมสมัยทุกวันนี้
การ จะคลายทุกข์อย่างนี้ได้มีหลายวิธี แต่ในที่นี้ขอแนะนำว่า ควรหัดลดการให้ความสำคัญกับสายตาคนอื่นเสียบ้าง พูดให้สั้น ก็คือ ควรรู้จัก "ช่างมัน ฉันไม่แคร์" เป็นบางเวลา บางสถานการณ์ เรื่องบางเรื่องลองหัดเป็นตัวของตัวเองดูบ้างก็ได้ พระผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเขียนกวีนิพนธ์เรื่อง "ช่างมัน" เอาไว้ไพเราะมาก ขอคัดมาให้อ่านกันเป็นข้อคิดสะกิดใจ เผื่อว่างเมื่อไรจะได้อ่านแล้วฝึก "ช่างมัน" เสียให้ชินความทุกข์จากการที่ต้องแคร์สายตาคนอื่นจะได้บรรเทาเบาบางลง

ธรรมะนอกธรรมาสน์
มีสมภารวัดหนึ่งลึกซึ้งมาก
ถูกลมปากถากถางอย่างเสียหาย
ท่านไม่โต้ตอบคำทำวุ่นวาย
คิดอุบายผันผ่อนสอนใจตัว

เอาตาชั่งตั้งหราอยู่กุฎิ์
แล้วก็ขุดมันวางข้างละหัว
ใครมาเห็นออกปากทักกันนัว
ท่านเจ้าขรัว "ช่างมัน" เสียยันเต

.................................................................................................................

* แค่ มองโลกตามความเป็นจริง ... ไม่เอาใจไปจับสิ่งเหล่านั้น ความทุกข์ก็จะคลายลง ความสุขก็จะไม่ตัวตน ... ทุก ๆ วันนี้ มองรอบ ๆ ตัวเห็นมีแต่คนทุกข์ ยากดีมีจน ตำแหน่งสูงใหญ่ หรือต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ก็นั่งถอนหายใจกันทั้งนั้น
* เขาไม่รักเรา แต่เราจะทำเพื่อเขา ... เราก็ทุกข์
* เขาไม่ยอมรับในความเก่งกาจของเรา เอาแต่คอยรังแกเรา ... เราก็ทุกข์ เขาก็ทุกข์ (ไม่รู้ว่าวันนี้จะแกล้งอะไรดี)
* เขาได้เงินมากกว่าเรา เพระเขาทำงานหนักกว่าเรา แต่เราอยากได้เงินมากเหมือนเขา แต่เราไม่เคยทำงานหนักเท่าเขา หรือมากกว่า ... เราก็ทุกข์
* เมื่อเราไม่มั่นใจตัวเอง สอนหนังสือมี ๑๐ ปี เวลาไปร่วมงานกับใคร ก็ได้แต่ตอบว่า "ค่ะ" แล้วก้มหน้าทำบ้าง อู้บ้าง พัฒนาการของตัวเองก็ไม่เคย แต่พอมีค่าจ้างนิดหน่อย ก็รีบตะครุบ ทำตัวไม่สมกับเป็นครูบาอาจารย์ เวลาคบกับใคร ก็หวาดระแวงกลัวคนอื่นจะมาเอาเปรียบตัวเอง ทั้ง ๆ ที่ตัวเอง เอาเปรียบเพื่อนร่วมงานอยู่ตลอดเวลา ... แบบนี้หน้าทุกข์ ทุกข์เพราะหัวใจไม่บริสุทธิ์ของตัวเอง
* ยกตัวอย่างเท่าที่มอง เท่าที่เห็น มิได้มีเจตนาอะไร กับใคร .. จึงไม่ทุกข์ ปล่อยวาง ผ่านมาแล้วผ่านไป
* กรรมเป็นของที่ไม่มีใครมาสร้างให้เรา แต่เราเป็นสร้างกรรมเอง ขึ้นอยู่กับว่า ดี หรือ ชั่ว
* ท่าน ว.วชิรเมธี สอนให้เราอยู่กับ "ทุกข์" หรือ "สุข" ด้วยความเป็นกัลยาณมิตร และทางสายกลางซึ่งกันและกัน
บุญรักษา ทุกท่านในวันพระใหญ่ ;)
http://www.gotoknow.org/posts/273537

"ง่ายแต่งาม"




"....
ความสุขนั้นเป็นเรื่องง่าย เพราะอยู่ใกล้ตัวเราอีกทั้งยังมีีอยู่กับเราแล้วทุกขณะ เราเองต่างหากที่ทำให้ความสุขเป็นเรื่องยาก เพราะมัวแต่ใช้ชีวิตอย่างซับซ้อนตั้งแต่การกิน การแต่งกาย การพักผ่อน การคบเพื่อน ไปจนถึงการนอน เราทำให้ชีวิตพะรุงพะรังไปด้วยวัตถุสิ่งเสพ รุ่มร่ามด้วยเกียรติยศและพูนพอกด้วยพิธีรีตอง ทั้ง ๆ ที่่ความเรียบง่าย สามารถให้ความสุขสงบเย็นแก่เราได้ แต่เรากลับมองข้าไป
ความสุขยังแยกไม่ออกจากความงดงาม คนเราไม่ได้มีความสุขเพียงเพราะอยู่ท่ามกลางทิวทัศน์ที่งดงามเท่านั้น ที่สำคัญกว่านั้นคือ การมีจิตใจที่งดงาม เอื้ออาทรต่อผู้อื่น ชีวิตที่อุิทิศตนเพื่อผู้อื่นนั้น เป็นความงดงามที่นำความสุขอย่างลึกซึ้งมาให้แก่ตนเองนี้เป็นบ่อเกิดแห่งความ สุขอีกประการหนึ่งที่ถูกละเลยไป
ชีวิตเรียบง่ายนั้นมักเป็นชีวิตที่งดงามเพราะนึกถึงตนเองน้อย แต่คำนึงถึงผู้อื่นมาก เป็นชีวิตเปี่ยมด้วยน้ำใจ ปรารถนาดี
ต่อ ผู้อื่นอยู่เสมอ รางวัลแห่งความง่ายและงาม ก็คือ ความสุข ที่ไม่ว่าจะรวยหรือจน ชายหรือหญิง หนุ่มหรือแก่ ก็สามารถสัมผัสได้ เพราะเป็นความสุขที่สากล
..."

คำปรารภจากหนังสือ "ง่ายแต่งาม"
พระไพศาล วิสาโล
๒๓ เมษายน ๒๕๕๖
http://www.gotoknow.org/posts/540189