คำคม
วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
กลยุทธ์การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
มีคำกล่าวว่า "We are what we think as we think so we become" หรือ "คุณเป็นอย่างที่คุณคิด หากคุณคิดว่าคุณทำได้ คุณก็จะทำได้สำเร็จ" จากการศึกษาผู้ที่ประสบความสำเร็จในโลกนี้พบว่าทุกคน มีคุณสมบัติของ ความเชื่อมั่นศรัทธาในตนเอง จัดเป็นคุณลักษณะที่สำคัญยิ่ง
กลยุทธ์การสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในตนเอง
1. พึ่งตนเองได้
"อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ" หมั่นฝึกตนช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด ก่อนจะร้องขอให้ผู้อื่นช่วย เพราะหากเราไม่ช่วยตนเองแล้วยากที่ใครจะมาช่วยเรา และจะเป็นการตัดโอกาสและความก้าวหน้าของตนเองอย่างน่าเสียดาย เพราะไม่ได้พัฒนาความสามารถอย่างเต็มที่ ดังนั้นจงช่วยตนเองอย่างเต็มความสามารถ แล้วคุณจะพบว่าคุณสามารถทำได้ด้วยตนเอง
2. รู้จักตนเอง
พยายามรู้จักตนเองให้ดีที่สุดด้วยการสำรวจตัวเองว่า มีจุดดี จุดด้อย จุดเด่นอะไรบ้าง จะปรับจุดด้อยให้ดีขึ้นได้อย่างไร ใช้จุดเด่นของตนให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นได้อย่างไร และยอมรับตนเองในฐานะมนุษย์ ซึ่งมีความสามารถ พลัง ค้นให้พบ หาให้เจอ พลังที่ซุกซ่อนอยู่ภายในตัวและนำมาใช้ให้เต็มที่ พร้อมกันนั้นก็ยอมรับจุดอ่อนที่มีหลังจากได้พยายามปรับแล้ว เพราะทุกคนก็ย่อมมีจุดแข็งจุดอ่อน "นี่คือมนุษย์"
3. ศรัทธาในตนเอง
นับถือตนเองเชื่อในความสามารถของตนเอง ไม่ดูถูกเหยียดหยามตนเอง เพราะคุณจะเรียกศรัทธาจากผู้อื่นได้ก็ต่อเมื่อคุณศรัทธาเชื่อถือตนเอง ดังคำพูดที่ว่า "คุณทำได้หากคุณเชื่อว่าคุณสามารถทำได้" ทุกข์ สุข อยู่ที่ความคิดของคุณเอง "ไม่มีใครจะนำความสุขความสำเร็จมาให้คุณนอกจากตัวคุณเอง"
4. กำจัดความกลัว
ความกลัวเป็นอุปสรรค์ต่อความสำเร็จและทำให้ไม่กล้าทำอะไร เพราะกลัวว่าจะทำได้ไม่ดีจะผิดพลาดแต่คนที่ไม่เคยทำอะไรเลย ก็จะไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น ส่วนคนที่ทำงาน โอกาสสำเร็จและผิดพลาดก็ย่อมจะมีบ้างเป็นธรรมดาแต่หากทำดีที่สุดแล้ว อะไรจะเกิดขึ้นก็ต้องยอมรับและไม่กลัวที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้น พึงคิดเสมอว่า "ทำไม่ดี ไม่มี มีแต่ยังไม่ได้ทำหรือยังทำดีไม่มากพอ" การลงมือทำเป็นเรื่องสำคัญ อย่าได้กลัวที่จะลงมือทำ ดังที่ว่า
อย่าเพียงแต่ดู จงลงมือทำ
อย่าเพียงแต่พูด จงลงมือทำ
อย่าเพียงแต่กลัว จงลงมือทำ
ลงมือทำทันที เดี๋ยวนี้เท่านั้น
และหากยังคงมีจิตใจกลัวและหวาดหวั่นต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ ก็ให้บอกกับตนเองว่า
คนที่ดีที่สุด ยังไม่เกิดขึ้น
คนเก่งที่สุด ยังไม่เกิดขึ้น
แต่ฉันนี่แหละคือคนเก่ง คนที่ดีที่สุดที่จะต้องสร้างสรรค์ และจัดการทำให้ได้ ดังนั้น จงขจัดความกลัว และเพิ่มความกล้า ให้คุณมีก้าวแรกเกิดขึ้นให้ได้ และก้าวต่อไปไม่ยาก ดังที่ว่า "ร้อยลี้พันลี้ ไม่สำคัญเท่าลี้แรก"
5. การมีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน
เมื่อจะทำสิ่งใดให้ใส่ใจเอาใจจดจ่อกับสิ่งที่ทำ รวมพลังความคิดลงสู่การกระทำในขณะนั้นไม่ห่วงหน้า พะวงหลัง หรือยึดติดกับอดีต กังวลกับอนาคต แต่มุ่งใจให้เป็นหนึ่งเดียวกับเวลาปัจจุบัน ทำเรื่องใดก็สนใจทุ่มเท มีสมาธิและจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นดังที่ว่า "ถอดหัวใจให้สิ่งที่ทำ" ณ เวลานั้น
6. คิดในทางบวก
พยายามคิดในเรื่องที่ดีที่ทำให้เป็นสุขเกิดพลังใจ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นให้คิดว่าเป็นประสบการณ์เป็นสิ่งที่ดี ที่ทำให้เราเติบโตขึ้น แกร่งขึ้น และเพิ่มพูนประสบการณ์ ตัวอย่าง เพลงของเบิร์ด "ผิดเป็นครู" อกหักทำให้รู้จักชีวิตมากขึ้น ให้หัดคิดเปลี่ยนปัญหาอุปสรรคให้กลายเป็นความสำเร็จมองวิกฤตให้เป็นโอกาสและเปลี่ยนปัญหาให้เป็นการพัฒนา
7. ปลูกฝังอุปนิสัยที่ดี
การที่เราจะมีการเชื่อมั่นศรัทธาในตนเองได้ ก็ต้องฝึกฝน เสริมสร้างและสั่งสมนิสัยที่ดี เช่น เป็นผู้มีความหวังเสมอ พรุ่งนี้ยังมีวันใหม่ให้ก้าวเดิน ความไม่กลัวต่อความลำบาก จิตใจเข้มแข็ง ต่อสู้ กล้าหาญ อดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค เพียรพยายามอย่างสม่ำเสมอ ไม่ประมาท เกิดเป็นคนไม่ควรขลาดกลัว จงเก่งกาจ กล้าหาญชาญชัย
ขอฝากความคิดสะกิดใจเพื่อเพิ่มพลังสู่ความสำเร็จ "ถ้าคุณคิดว่าคุณพ่ายแพ้ คุณจะพ่ายแพ้ ถ้าคุณคิดว่า คุณไม่กล้า คุณจะไม่กล้า ถ้าคุณต้องการที่จะชนะ แต่คุณคิดว่าคุณไม่อาจชนะ เกือบจะ แน่นอนว่าคุณจะไม่ชนะ ถ้าคุณคิดว่าคุณย่อยยับคุณจะย่อยยับ" เพราะว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ความสำเร็จเริ่มต้นด้วยความต้องการของคนผู้นั้นทั้งหมด มันขึ้นอยู่กับท่าทีของจิตใจ ถ้าคุณคิดว่าคุณแพ้ยับเยิน คุณจะเป็นเช่นนั้น คุณจะต้องคิดให้สูงเพื่อที่จะยกตัวของคุณให้สูงขึ้น
คุณจะต้องเชื่อถือในตัวของคุณเองก่อน ก่อนที่คุณจะชนะ รางวัลสงครามชีวิตมิได้อยู่ที่ผู้ที่แข็งแรง หรือเร็วกว่าเสมอไปแต่ในที่สุดไม่เร็วก็ช้า คนที่ชนะคือคนที่คิดว่าเขาทำได้
ที่มา http://chatjula.multiply.com/journal/item/2/2
อุปนิสัยเจ็ดประการสำหรับผู้มีประสิทธิภาพ (7 Habits for Highly Effective People)
Stephen R. Covey เป็นบุคคลที่ได้รับการกล่าวถึงในด้านของ การพัฒนาตนเอง เขาเป็นผู้ที่รวบรวมแนวความคิดของนิสัยที่ดีซึ่งหากบุคคลใดมีครบ ปฏิบัติครบ และปฏิบัติได้เป็นนิสัยแล้ว จะทำให้เขาผู้นั้นเป็นผู้ที่ทำงานการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. เป็นผู้กระทำ (Be Proactive)
คนเรานั้น หากไม่เป็นผู้กระทำ (Proactive) ก็มักจะเป็นผู้ถูกกระทำ (Reactive) คนที่เป็นคนเฉื่อย ไม่ยอมคิดไม่ยอมสร้างอะไร ก็จะถูกสิ่งแวดล้อมมากระทบหรือนำพาบังคับให้ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ไปตามสภาพแวดล้อม แบบนั้นเรียกว่าเป็นผู้ที่ถูกกระทำ แต่ในทางตรงกันข้าม คนที่อยู่ในประเภทที่เป็นผู้กระทำ จะเป็นผู้เลือกที่จะทำหรือจะไม่ทำสิ่งใดๆ ด้วยเหตุด้วยผลของเขาเอง คือคิดว่าตัวเองเป็นผู้กำหนดชีวิตของตน ทั้งนี้ด้วยการพิจารณาไว้ก่อน ไม่ใช่ว่าถึงเวลาแล้วค่อยคิดจะทำ เพราะสุดท้ายแล้วก็จะกลายเป็นผู้ถูกกระทำและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนเดิม
2. เริ่มต้นโดยมีเป้าหมายชัดเจน (Begin with the end in mind)
คือการวางแผนการทำงาน หรือแม้แต่ชีวิตของคนเราไว้ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะทำการอะไรใดๆ เพราะหากเราได้ตั้งใจไว้แล้วว่าในที่สุดแล้ว การงานหนึ่งๆ หรือชีวิตของเราจะมีลักษณะสุดท้ายเป็นอย่างไร เราก็จะทำตัวให้สอดคล้องกับจุดหมายนั้นโดยไม่ไขว้เขวไป
3. ทำสิ่งสำคัญกว่าก่อน (Put first things first)
อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน เพราะในชีวิตประจำวันเรานั้น อาจจะต้องมีกิจกรรมหลายอย่างที่จะต้องทำ บางอย่างนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ บางอย่างเป็นเรื่องไม่สำคัญ บางอย่างไม่เร่งด่วน บางอย่างเร่งด่วน ดังนั้นแล้ว สิ่งต่างๆ ในชีวิตอาจจะผสมกันออกมาเป็นได้หลายแบบคือ:
- สำคัญและเร่งด่วน ต้องทำโดยเร็วที่สุด และต้องทำให้ดีด้วย อันนี้เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดหากวางแผนไว้ดี
- สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน เป็นเรื่องที่น่าจะทำได้ดีที่สุด รีบทำเสียเนิ่นๆ จะได้ทำได้ดี และไม่กลายเป็น สำคัญและเร่งด่วนในที่สุด
- ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน อันนี้แปลก ต้องรีบทำนะ แต่จริงๆ น่ะไม่ทำก็ได้ เช่นดูละครทีวีที่กำลังฉายเป็นต้น
- ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน ไม่ทำก็ได้ แต่หลายๆคนก็ให้เวลากับตรงนี้อยู่มาก
หากคนเราให้เวลากับการทำงานที่ "สำคัญแต่ไม่เร่งด่วนให้ได้มาก" ก็จะทำให้งานนั้นออกมาดี (เพราะไม่ต้องรีบ) และก็น่าจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้มากที่สุด เพราะว่าได้ใช้เวลาในการทำงานที่ "สำคัญ" มากกว่าอย่างอื่นนั่นเอง ความลับของความสำเร็จของคนก็อยู่ตรงนี้ คือ พยายามวางแผนและจัดเวลาให้ได้ทำงานในลักษณะ สำคัญแต่ไม่เร่งด่วนให้ได้มากที่สุด เพราะนั่นหมายถึงว่าเราจะทำงานที่สำคัญที่สุดได้ดีที่สุดนั่นเอง
4. ชอบคิดแบบชนะ-ชนะ (Think Win-Win)
คือการกระทำใดๆ กับใครๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเราแล้วได้ผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย เรียกว่า "ชนะ" ทั้งสองฝ่ายโดยไม่มีฝ่ายใดพ่ายแพ้เสียประโยชน์ต้องกลับไปนอนเจ็บช้ำน้ำใจภายหลัง แบบนี้เรียกว่าคิดและทำแบบ win-win ซึ่งจริงๆ แล้วอาจจะมีคนเข้าใจผิดว่าเป็นการ "ประนีประนอม" แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ เพราะว่าการประนีประนอมนั้น คู่กรณีอาจจะเสียประโยชน์ทั้งสองฝ่ายก็เป็นได้ การคิดและทำแบบ win-win นี้จะต้องเกิดอยู่บนพื้นฐานของทัศนคติที่ดีและต้องการให้ได้ประโยชน์เท่าเทียมกันทั้งสองฝ่ายในระยะยาว ในบางครั้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะต้องเสียเปรียบก่อน แต่ในที่สุดแล้ว เมื่อดำเนินการตามแผนทั้งหมดแล้ว ทั้งสองฝ่ายจะต้องได้ประโยชน์ทั้งคู่เท่าๆ เทียมกัน
5. การพยายามเข้าใจคนอื่นก่อน
(Seek first to understand then to be understood)
นิสัยนี้เป็นการที่เราพยายามเข้าใจคนอื่นก่อน เพราะการพยายามเข้าใจคนอื่นนั้น ง่ายกว่าการที่จะทำให้คนอื่นเขามาเข้าใจเรา หลักการที่จะทำให้เราเข้าใจคนอื่นได้ง่ายนั้นจะต้องเริ่มต้นด้วยการฟัง คือฟังอย่างพยายามทำความเข้าใจ เมื่อเราเข้าใจเขา เราก็จะรู้ว่าเขาคิดอย่างไร มีพื้นฐานอย่างไร เมื่อเป้นเช่นนั้นแล้ว กาลต่อมาที่เราจะพูดเพื่อให้เขาเข้าใจในส่วนของเราก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น
6. ชอบประสานงานเพื่อเพิ่มพลัง (Synergize)
เมื่อคนเรามากกว่าหนึ่งคนมาทำงานด้วยกัน สมควรที่จะต้องได้งานเพียงมากกว่าสองคน ไม่เช่นนั้นแล้วก็ต่างคนต่างทำงานของตัวเองดีกว่า ไม่มีโอกาสที่จะทะเลาะกันด้วย ดังนั้นแล้ว เมื่อใดก็ตามที่คนเราที่ร่วมงานกันมีโอกาสได้ทำงานด้วยกัน ก็สมควรที่จะคิดและทำเพื่อให้ได้งานมากกว่าคุณค่าของคนเพียงสองคน หรือพูดอีกแง่หนึ่งว่า 1 + 1 ต้องมากกว่า 2 นั่นเอง การที่เราจะทำอย่างที่กล่าวมาแล้วได้ ก็จะต้องยอมรับในความแตกต่างของคนอื่น และพยายามมองว่าความแตกต่างนั้นน่าจะมีประโยชน์มากกว่าโทษ และนำข้อดีของความแตกต่างนั้นมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด โดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ด้วยกันเพื่อทำให้เกิดการพัฒนา
7. ฝึกฝนตนเองให้พร้อมเสมอ (Sharpen the saw)
เมื่อคนเรามีความรู้ในระดับหนึ่งแล้ว ก็ยังไม่เพียงพอ หากเมื่อใดที่หยุดคิดและพัฒนาตนเอง ก็เหมือนกับตายไปแล้วครึ่งหนึ่งนั่นเอง เรายังต้องพยายามฝึกฝนพัฒนาตัวเราเองเสมอ ด้วยวิธีการง่ายๆคือ:
- ดูแลสุขภาพทางกายให้ดี เมื่อแข็งแรง จะคิดอะไร ทำอะไรก็ง่ายไปหมด
- บำรุงความคิด โดยการอ่านหนังสือ, ฟังสัมนา, ดูรายการสารคดี เป็นต้น
- พัฒนาจิตวิญญาณ ทำจิตใจให้ผ่องใส อาจจะนั่งสมาธิ, ฟังเพลงที่สงบ ทำให้จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน
- พัฒนาอารมณ์ ให้เป็นคนดี เข้ากับคนอื่นได้ง่าย เข้าใจความรู้สึกของคนอื่น โดยเฉพาะกับคนในครอบครัวไกล้ๆตัว
สรุป
- นิสัย 1-3 เป็นชีวิตส่วนตัว ทำให้เราเป็นคนมีประสิทธิภาพ ไม่วอกแวก
- นิสัย 4-6 ที่ทำให้เราเป็นผู้ใหญ่ ทำให้เราอยู่ในสังคมได้ดี มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างมีความสุข
- นิสัยสุดท้ายคือดูแลความสมดุลระหว่างผลผลิตกับความสามารถในการให้ผลผลิต
หากเราสามารถสร้างนิสัยทั้งหมดเหล่านี้ให้มีอยู่ในตัวเรา (คือเป็นนิสัย ติดเป็นนิสัย) ก็จะทำให้เราเป็นคนที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน ทำการสิ่งใดก็สำเร็จได้โดยง่าย โดยไม่สร้างความเดือดร้อนขุ่นหมองใจให้กับทั้งตัวเราเองและคนอื่นที่เราทำงานด้วย
ที่มา คุณ Aimanun (siaminfobiz.com)
การพัฒนาตนเอง (Self Development)
การพัฒนาตนเอง (Self Development) คนเราถ้าจะเก่งต้องประกอบด้วย 3 เก่ง คือ เก่งตน เก่งคน และ เก่งงาน
เก่งตน (Self Ability)
หมายถึง เป็นผู้ที่ชอบศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันโลกทันคน โดยเริ่มจากการพัฒนาตนเองก่อน การพัฒนาตนเองนั้นพัฒนาได้ 3 ทางคือ
เก่งคน (Self Ability)
หมายถึง มีความสามารถที่จะทำตัวให้เข้าไหนเข้าได้ เป็นที่รักใคร่ชอบพอแก่ทุกฝ่าย มีมนุษยสัมพันธ์ในครอบครัว พ่อแม่ควรรู้หลักจิตวิทยาในการปกครองลูก ให้ความรัก ความอบอุ่นแก่ลูก ลูกก็ไม่ทำตนให้เป็นปัญหาให้พ่อแม่ และมีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน สามารถทำตนให้เข้ากับคนได้กับทุกคน หากมีผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาก็รัก หากมีลูกน้อง ลูกน้องก็รัก เพื่อนร่วมงานก็รัก บุคคลภายนอกหรือลูกค้าก็รัก ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับตนเองและธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง
เก่งงาน (Task Ability)
หมายถึง ผู้ที่รักงาน ขยันทำงาน และรู้วิธีทำงาน มีความขยันหมั่นเพียร มานะ อดทน ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค
ที่มา : กลุ่มบริหารทั่วไป สำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
เก่งตน (Self Ability)
หมายถึง เป็นผู้ที่ชอบศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันโลกทันคน โดยเริ่มจากการพัฒนาตนเองก่อน การพัฒนาตนเองนั้นพัฒนาได้ 3 ทางคือ
- ทางกาย องค์ประกอบที่สำคัญคือ รูปร่าง พัฒนาให้ดีขึ้นโดยใช้การแต่งกายช่วยลดจุดด้อยหรือเสริมจุดเด่น หน้าตาสดชื่นแจ่มใส สะอาดหมดจด อากัปกิริยา การแสดงออกเข้มแข็งแต่ไม่แข็งกระด้าง อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ การยืน การเดิน การนั่ง ต้องมั่นคง เรียบร้อย การแต่งกายต้องสะอาดเหมาะสมกับกาลเทศะ เหมาะสมกับรูปร่างและผิวพรรณ
- ทางวาจา การพูดดีต้องมีองค์ประกอบ ๔ ประการคือ พูดแต่ดี มีประโยชน์ ผู้ฟังชอบ และทุกคนปลอดภัย ก่อนพูดทุกครั้งต้องคิดก่อนพูด คนที่พูดดี มีปิยะวาจา เป็นลมปากที่หวานหูไม่รู้หาย เป็นที่รักใคร่ชอบพอแก่ทุก ๆ ฝ่ายที่ได้ยินได้ฟัง
- ทางใจ การพัฒนาทางใจก็มีองค์ประกอบหลายประการ เช่น ความมั่นใจ ถ้ามีความมั่นใจในตนเอง จะทำอะไรก็สำเร็จ ความจริงใจ คือ เป็นคนปากกับใจตรงกัน ความกระตือรือร้น กระฉับกระเฉง แจ่มใส มีชีวิตชีวา ความมานะพยายามไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค ความซื่อสัตย์สุจริต ความสุขใจ ความอดกลั้น ความมีเหตุผล การมีสมรรถภาพในการจำและมีความคิดสร้างสรรค์
เก่งคน (Self Ability)
หมายถึง มีความสามารถที่จะทำตัวให้เข้าไหนเข้าได้ เป็นที่รักใคร่ชอบพอแก่ทุกฝ่าย มีมนุษยสัมพันธ์ในครอบครัว พ่อแม่ควรรู้หลักจิตวิทยาในการปกครองลูก ให้ความรัก ความอบอุ่นแก่ลูก ลูกก็ไม่ทำตนให้เป็นปัญหาให้พ่อแม่ และมีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน สามารถทำตนให้เข้ากับคนได้กับทุกคน หากมีผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาก็รัก หากมีลูกน้อง ลูกน้องก็รัก เพื่อนร่วมงานก็รัก บุคคลภายนอกหรือลูกค้าก็รัก ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับตนเองและธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง
เก่งงาน (Task Ability)
หมายถึง ผู้ที่รักงาน ขยันทำงาน และรู้วิธีทำงาน มีความขยันหมั่นเพียร มานะ อดทน ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค
ที่มา : กลุ่มบริหารทั่วไป สำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
เทคนิคการบริหารเวลา
(บุญชัย ปัญจรัตนากร ,2540 และม.อึ้งอรุณ, 2537)
- ไปถึงที่ทำงานแต่เช้า การไปถึงที่ทำงานก่อนเวลาทำงานปกติ จะได้เวลาซึ่งปราศจากการขัดจังหวะ จากสิ่งใดๆ สามารถใช้เวลานั้นเพื่อใช้เวลาคิดในการวางแผน หรือทำงานที่ต้องใช้สมาธิได้
- จัดชั่วโมงศักดิ์สิทธิ์ หาชั่วโมงศักดิ์สิทธิ์ที่ปราศจากการบกวน โดยงดรับโทรศัพท์ ปิดห้องทำงาน เพื่อได้ทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
- เขียนสิ่งที่ต้องทำในบันทึก พร้อมจัดสรรเวลาและจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมไปได้ด้วย พร้อมกับระบุวันเวลา ในลงบันทึก เพื่อจัดการงานแต่ละชิ้นออกไป
- จัดโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบ จัดโต๊ะให้เป็นระเบียบทุกเย็น ถ้าโต๊ะสะอาดจะช่วยให้การทำงานในตอนเช้าง่ายขึ้น
- ลดจำนวนครั้งและเวลาในการประชุม ต้องคำนึงถึงเสมอถึงผลที่ได้จากการประชุมอย่างถี่ถ้วน คุ้มค่ากับเวลา โดยมีการกำหนดวาระประชุม รักษาเวลาการประชุม และวาระการประชุมอย่างเคร่งครัด
- แบ่งงานออกเป็นส่วนๆ โดยแปรรูปงานหรือโครงการที่สำคัญให้เป็นกิจกรรมย่อยๆ ที่สามารถจัดการได้สะดวก และใช้เวลาไม่นานนักในแต่ละกิจกรรม จะทำงานให้สำเร็จไปได้ในแต่ละช่วง เพราะเป็นการยากมากที่จะหาเวลาติดต่อกันในช่วงยาวๆ
- เริ่มลงมือทำทันที อย่ามัวรีรอในการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างงว่าจะเริ่มต้นตรงไหนก่อนการรีบตัดสินใจทำทันที แล้วค่อยเพิ่มเติมทีหลัง จะให้งานเสร็จเร็วขึ้น
- พิจารณาใช้เทคโนโลยีช่วย การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมทำให้งานเสร็จเร็วขึ้นเป็นหลายเท่า เช่นโทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ บัตรเครดิต
- เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ใกล้มือ เช่นโทรศัพท์ คลิบหนีบกระดาษ สมุดโน้ต กรรไกร ปากกา ยางลบ เทปใส ตะกร้าขยะ ซองจดหมาย ฯลฯ
- ใช้หูแทนตาเพื่อประหยัดเวลา เช่นฟังวิทยุแทนดูโทรทัศน์
- ใช้เวลารอคอยให้เกิดประโยชน์ ถ้าต้องรอคอยอะไรซักอย่างหนึ่ง ต้องหากิจกรรมสำรองที่ง่ายๆ ไปด้วย จะได้ไม่มีความกระวนกระวายใจ ในการรอคอย และยังได้งานเพิ่มขึ้นอีก
- ประหยัดเวลาในการจับจ่าย โดยการซื้อของเป็นจำนวนมาก ไม่ตองไปซื้อบ่อย ซื้อของเวลาที่คนไม่มาก วานคนอื่นให้คนทำงานแทน ตัดสินใจโดยไม่ลังเลและผนวกการจ่ายตลาดกับธุระประจำเข้าด้วยกันเพื่อประหยัดเวลา
- การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ช่วยให้ประหยัดเวลาได้ ทั้งในด้านการช่วยเหลือเกื้อกูล และ การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาด้วยมิตรภาพที่ดี การสื่อสารที่ชัดเจน นุ่มนวล และช่วยให้ได้รับความร่วมมือช่วยเหลือด้วยดี และประหยัดเวลาทำงาน
- ใช้เวลาปลีกย่อยให้เป็นประโยชน์ ใช้เวลา 10 นาที หรือ 15 นาที ให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องคอยอะไรสักอย่างใช้ให้คุ้มค่า อย่างทิ้งไป
- ใช้เวลาของแต่ละวันให้เต็มที่ สมเหตุสมผล มีประโยชน์ เช่น ฟังข่าววิทยุ หรือฝึกฟังภาษาอังกฤษขณะขับรถไปทำงาน วางแผนการใช้เวลาแต่ละช่วงให้เหมาะสม หรือทำงานเพิ่มนอกเหนือจากที่จัดระเบียบไว้ในแต่ละวันแล้วจะได้งานอื่นๆเพิ่มอีกด้วย
- ทำงานด้วยความสบายใจ ความสุขและความสนุกสนานเป็นการเสริมสร้างพลังจิตใจให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ จิตใจที่สบายเป็นทุนของประสิทธิภาพการทำงาน ควรเพาะเลี้ยงให้มีความสนุกสนานกับการทำงานและเอาใจใส่
- ในการทำงาน ควรกำหนดเวลาในการพักผ่อนไปด้วย หรือเปลี่ยนงานซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกัน จะช่วยให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ทำงานสองสิ่งในเวลาเดียวกัน ถึงแม้โบราณจะสอนว่า ทำงานสิ่งใด ก็ให้ตั้งใจทำงานในสิ่งนั้น มิเช่นนั้นจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพต่ำลง แต่การตั้งใจทำงานนับเป็นสิ่งที่ดี แต่เราสามารถตั้งใจทำงานควบคู่กันได้
- การเพิ่มพูนความรู้และข้อมูลข่าวสารต่างๆ อ่านหนังสือให้ได้ผลโดยเพิ่มเวลาอ่านหนังสือให้มากขึ้น อ่านทุกวันและสม่ำเสมอ เลือกหนังสือที่จะอ่านด้วยความระมัดระวัง มีประโยชน์ และมีคุณค่า ตลอดจน เพิ่มความเร็วของการอ่าน
วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ออมสินเวลา
จุดอ่อนอย่างหนึ่งของมนุษย์ผู้เจริญแล้ว (วัดด้วยการมีกติกา ระบบ ระเบียบในสังคม) ก็คือ การยึดติดกับกฏกติกานั้นแบบ "กัดไม่ปล่อย"
เคยไหมที่คุณไปใช้บริการของหลายองค์กรที่มีกำหนดเปิดทำงานเวลา 09.00 น. คุณไปก่อนเวลาและรอที่เคาน์เตอร์หน้าประตู แม้ว่าเจ้าหน้าที่มาทำงานแล้ว แต่ไม่ยอมทำงานจนเข็มวินาทีแตะเลข 09.00 น. เจ้าหน้าที่จึงเริ่มขยับเขยื้อนกาย
มนุษย์เงินเดือนไม่น้อยชอบทำตัวเป็นหุ่นยนต์ที่ถูกตั้งโปรแกรมไว้ หากไม่ถึงกำหนดเวลาทำงาน ลานที่ฝังอยู่ในตัวจะยังไม่ทำงาน
สัจธรรมหนึ่งของการใช้ชีวิตในสังคมมนุษย์ก็คือ กฎเกณฑ์กติกาใด ๆ ก็ตามที่มนุษย์เป็นผู้สร้างนั้นลบทิ้งได้เสมอ แต่ไม่ค่อยมีใครยอมเข้าใจสัจธรรมนี้ (หรือเพราะมันเป็นสัจธรรม ไม่ใช่กฎ?)
แปลก! กลัวขาดทุน แต่ไม่กลัวเสียเวลา
หากเฉลี่ยว่า คนเรามีเวลาในโลกนี้ 60 ปี เราก็หมดไปกับการเล่นก่อนวัยเรียนราว 5 ปี การเรียนราว 20 ปี เหลือเวลาอีกเพียง 35 ปี หักเวลาเกษียณหรือนอนรอความตายอีก 10 ปี หักเวลาพักผ่อน นอนหลับ สร้างครอบครัว ขับรถ ฯลฯ อีกครึ่งหนึ่ง ก็เหลือเวลาทำงานจริง ๆ แค่สิบสองปีครึ่ง หรือราว 4,500 วัน หรือประมาณหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นชั่วโมงเท่านั้น
ไม่มากเลยเมื่อเทียบกับเวลาของโลก หรืออายุของสัตว์บางชนิด ต้นไม้บางพันธุ์
แต่มากพอสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ
นี่คือเวลาที่จะสร้างความแตกต่างกันระหว่างมนุษย์แต่ละคน
เพียงรู้จักประหยัดเวลา เก็บเกี่ยวมันเพิ่มจากช่วงยามที่ผ่านไปอย่างไร้ค่า ก็อาจเพิ่มจำนวนชั่วโมงแก่ชีวิตได้อีก เพียงวันละสิบนาทีก็ได้เวลา "สร้างความแตกต่าง" ในชีวิตเพิ่มมาอีกถึงสองพันกว่าชั่วโมง และมากกว่านี้อีกหลายเท่าหากรู้จักเก็บเวลาที่ไม่จำเป็นต้องใช้ใส่กระปุกออมสินแห่งชีวิต
เลิกเสียเวลาไปกับเรื่องขยะ เช่น นินทา บ่น ด่า โทรศัพท์คุยเล่น แค่ลด ละ เลิกใช้เวลาพวกนี้บ้างก็ได้เวลามาเยอะแยะ
ความหมายของ "ตรงเวลา" ไม่ใช่ซื่อสัตย์ต่อนาฬิกา แต่ซื่อสัตย์ต่อเวลาที่เรามี
เงินทองมีน้อย ก็ไม่เสียมันไปกับค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
เช่นเดียวกัน เวลามีน้อย ก็อย่าโยนมันทิ้งไปเปล่า ๆ
ทำอะไรสักอย่าง แต่อย่าอยู่เฉย ๆ
ชีวิตมนุษย์เสียเวลาไปเรื่องต่าง ๆ มากมาย ที่หลายคนมองว่าสำคัญเป็นอย่างมาก โดยไม่รู้ตัวว่า พรุ่งนี้อาจจะไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้แล้ว
หลายคนชอบใช้คำว่า "ฆ่าเวลา" รู้ตัวไหมว่า เรากำลัง "ฆ่าเวลา" ของตัวเอง
หรือเป็นการรอคอยอะไรบางอย่างที่ไร้จุดหมาย ไร้ความหวัง
เสียเวลาจังครับ
http://www.gotoknow.org/blog/scented-book/434530
เคยไหมที่คุณไปใช้บริการของหลายองค์กรที่มีกำหนดเปิดทำงานเวลา 09.00 น. คุณไปก่อนเวลาและรอที่เคาน์เตอร์หน้าประตู แม้ว่าเจ้าหน้าที่มาทำงานแล้ว แต่ไม่ยอมทำงานจนเข็มวินาทีแตะเลข 09.00 น. เจ้าหน้าที่จึงเริ่มขยับเขยื้อนกาย
มนุษย์เงินเดือนไม่น้อยชอบทำตัวเป็นหุ่นยนต์ที่ถูกตั้งโปรแกรมไว้ หากไม่ถึงกำหนดเวลาทำงาน ลานที่ฝังอยู่ในตัวจะยังไม่ทำงาน
สัจธรรมหนึ่งของการใช้ชีวิตในสังคมมนุษย์ก็คือ กฎเกณฑ์กติกาใด ๆ ก็ตามที่มนุษย์เป็นผู้สร้างนั้นลบทิ้งได้เสมอ แต่ไม่ค่อยมีใครยอมเข้าใจสัจธรรมนี้ (หรือเพราะมันเป็นสัจธรรม ไม่ใช่กฎ?)
แปลก! กลัวขาดทุน แต่ไม่กลัวเสียเวลา
หากเฉลี่ยว่า คนเรามีเวลาในโลกนี้ 60 ปี เราก็หมดไปกับการเล่นก่อนวัยเรียนราว 5 ปี การเรียนราว 20 ปี เหลือเวลาอีกเพียง 35 ปี หักเวลาเกษียณหรือนอนรอความตายอีก 10 ปี หักเวลาพักผ่อน นอนหลับ สร้างครอบครัว ขับรถ ฯลฯ อีกครึ่งหนึ่ง ก็เหลือเวลาทำงานจริง ๆ แค่สิบสองปีครึ่ง หรือราว 4,500 วัน หรือประมาณหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นชั่วโมงเท่านั้น
ไม่มากเลยเมื่อเทียบกับเวลาของโลก หรืออายุของสัตว์บางชนิด ต้นไม้บางพันธุ์
แต่มากพอสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ
นี่คือเวลาที่จะสร้างความแตกต่างกันระหว่างมนุษย์แต่ละคน
เพียงรู้จักประหยัดเวลา เก็บเกี่ยวมันเพิ่มจากช่วงยามที่ผ่านไปอย่างไร้ค่า ก็อาจเพิ่มจำนวนชั่วโมงแก่ชีวิตได้อีก เพียงวันละสิบนาทีก็ได้เวลา "สร้างความแตกต่าง" ในชีวิตเพิ่มมาอีกถึงสองพันกว่าชั่วโมง และมากกว่านี้อีกหลายเท่าหากรู้จักเก็บเวลาที่ไม่จำเป็นต้องใช้ใส่กระปุกออมสินแห่งชีวิต
เลิกเสียเวลาไปกับเรื่องขยะ เช่น นินทา บ่น ด่า โทรศัพท์คุยเล่น แค่ลด ละ เลิกใช้เวลาพวกนี้บ้างก็ได้เวลามาเยอะแยะ
ความหมายของ "ตรงเวลา" ไม่ใช่ซื่อสัตย์ต่อนาฬิกา แต่ซื่อสัตย์ต่อเวลาที่เรามี
เงินทองมีน้อย ก็ไม่เสียมันไปกับค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
เช่นเดียวกัน เวลามีน้อย ก็อย่าโยนมันทิ้งไปเปล่า ๆ
ทำอะไรสักอย่าง แต่อย่าอยู่เฉย ๆ
ชีวิตมนุษย์เสียเวลาไปเรื่องต่าง ๆ มากมาย ที่หลายคนมองว่าสำคัญเป็นอย่างมาก โดยไม่รู้ตัวว่า พรุ่งนี้อาจจะไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้แล้ว
หลายคนชอบใช้คำว่า "ฆ่าเวลา" รู้ตัวไหมว่า เรากำลัง "ฆ่าเวลา" ของตัวเอง
หรือเป็นการรอคอยอะไรบางอย่างที่ไร้จุดหมาย ไร้ความหวัง
เสียเวลาจังครับ
http://www.gotoknow.org/blog/scented-book/434530
"ให้โอกาส กับ สิ่งที่เราไม่รู้"
ในโลกนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เรา "ไม่รู้"
แต่เราชอบคิดว่า เรา "รู้"
ความผิดพลาดในชีวิตของเราคือ การตัดสินใจหรือตัดสินคนด้วยความคิดว่าเรา "รู้" ทั้งที่เรา "ไม่รู้"
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรัก เพื่อน หรือการทำงาน
เราเสียเพื่อน เสียแฟน หรือเสียลูกน้องไปกี่คนแล้วในชีวิต
เพียงเพราะคิดว่า เรา "รู้" ทั้งที่เราไม่ได้ "รู้จริง"
"สิ่งที่เราไม่รู้" เหมือนกับ "ความมืด"
ทุกครั้งที่เราเดินไปในความมืด
จินตนาการสำหรับเส้นทางข้างหน้ามักจะน่ากลัวเสมอ
เราไม่รู้ เราไม่เห็น แต่เราไม่เคยคิดในทางบวก
ไม่เคยคิดว่าเส้นทางจะราบเรียบ
ไม่เคยคิดว่าอีกแป๊บเดียวก็ถึง
ไม่คิดว่าสักพักไฟฟ้าก็ติด ความสว่างก็จะมาเยือน ฯลฯ
เราไม่เคยให้ "โอกาส" กับ "สิ่งที่เราไม่รู้"
... น้อยเกินไปหรือเปล่า???
ความรู้ที่น่ากลัวที่สุดในโลก คือ คำว่า "รู้แล้ว"
ปริญญาบัตรสูง ๆ ไม่ได้บ่งบอกว่า คุณรู้ทุกเรื่องในโลกนี้ที่ไหนกัน
เรารู้เพียงแต่เรื่องที่เราสนใจและร่ำเรียนมาเท่านั้น
แต่หลายคนกลับใช้ใบปริญญาบัตรนั่นแหละ ยกตนขึ้นสูง
ดูถูกดูแคลนคนที่มีใบปริญญาต่ำกว่า หรือ ไม่มี
ทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจก็ตาม
หลายคนทำเหมือนไม่รู้ตัว ขาดสติ ไม่รู้ตนเองกำลังทำอะไร
บางทีก็ไปทำร้ายจิตใจคนอื่นโดยไม่รู้ตัวเอง
"บาป" เชียวแหละ กรรมมีเผ่าพันธุ์เป็นของตัวเอง
แตกหน่อแตกยอดให้เราได้ร้อนใจได้เสมอ
โปรด "ให้โอกาส" กับ "สิ่งที่เราไม่รู้" เพื่อตัวของเราเอง
http://www.gotoknow.org/blog/scented-book/437800
แต่เราชอบคิดว่า เรา "รู้"
ความผิดพลาดในชีวิตของเราคือ การตัดสินใจหรือตัดสินคนด้วยความคิดว่าเรา "รู้" ทั้งที่เรา "ไม่รู้"
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรัก เพื่อน หรือการทำงาน
เราเสียเพื่อน เสียแฟน หรือเสียลูกน้องไปกี่คนแล้วในชีวิต
เพียงเพราะคิดว่า เรา "รู้" ทั้งที่เราไม่ได้ "รู้จริง"
"สิ่งที่เราไม่รู้" เหมือนกับ "ความมืด"
ทุกครั้งที่เราเดินไปในความมืด
จินตนาการสำหรับเส้นทางข้างหน้ามักจะน่ากลัวเสมอ
เราไม่รู้ เราไม่เห็น แต่เราไม่เคยคิดในทางบวก
ไม่เคยคิดว่าเส้นทางจะราบเรียบ
ไม่เคยคิดว่าอีกแป๊บเดียวก็ถึง
ไม่คิดว่าสักพักไฟฟ้าก็ติด ความสว่างก็จะมาเยือน ฯลฯ
เราไม่เคยให้ "โอกาส" กับ "สิ่งที่เราไม่รู้"
... น้อยเกินไปหรือเปล่า???
ความรู้ที่น่ากลัวที่สุดในโลก คือ คำว่า "รู้แล้ว"
ปริญญาบัตรสูง ๆ ไม่ได้บ่งบอกว่า คุณรู้ทุกเรื่องในโลกนี้ที่ไหนกัน
เรารู้เพียงแต่เรื่องที่เราสนใจและร่ำเรียนมาเท่านั้น
แต่หลายคนกลับใช้ใบปริญญาบัตรนั่นแหละ ยกตนขึ้นสูง
ดูถูกดูแคลนคนที่มีใบปริญญาต่ำกว่า หรือ ไม่มี
ทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจก็ตาม
หลายคนทำเหมือนไม่รู้ตัว ขาดสติ ไม่รู้ตนเองกำลังทำอะไร
บางทีก็ไปทำร้ายจิตใจคนอื่นโดยไม่รู้ตัวเอง
"บาป" เชียวแหละ กรรมมีเผ่าพันธุ์เป็นของตัวเอง
แตกหน่อแตกยอดให้เราได้ร้อนใจได้เสมอ
โปรด "ให้โอกาส" กับ "สิ่งที่เราไม่รู้" เพื่อตัวของเราเอง
http://www.gotoknow.org/blog/scented-book/437800
วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
คำพูดที่แย่ที่สุด เรื่องที่แย่ที่สุด ... (สำเร็จได้ไม่ใช่เพราะโชคช่วย)
คำพูดที่แย่ที่สุด คือ การพูดว่า
"ฉันน่าจะทำอย่างนั้น
ฉันน่าจะทำอย่างนี้ ฉันน่าจะเป็น
ฉันน่าจะมี ..."
ก็แล้วทำไมถึงไม่ทำ ในวันที่ยังมีโอกาส
มีศักยภาพที่จะทำได้อย่างที่คิดล่ะ ...
การปล่อยให้คืนวันผ่านไปอย่างไร้ค่า
การปล่อยให้เวลาหมดไปอย่างไร้ค่า
เป็นคนละเรื่องเดียวกันกับความอดทน
ความอดทน คือ การรู้จักการรอคอยและรู้จักตัดสินใจอย่างรอบคอบ
ชายหนุ่มคนหนึ่งเอ่ยถามชายชราว่า
"ลุงคิดว่าอะไรคือเรื่องที่แย่ที่สุดในชีวิตครับ"
ชายชรายิ้มเล็ก ๆ ก่อนตอบว่า
"การไม่มีภาระอะไรให้รับผิดชอบเลยยังไงล่ะ
นั่นคือการเกิดมาสูญเปล่าโดยแท้จริง..."
โลกใบนี้กว้างใหญ่นัก
จงอยู่กับปัจจุบัน แต่อย่าลืมฝันถึงอนาคต ...
คิดถึงเรื่องการไม่ทำอะไรเลยของเหล่าเด็ก ๆ นักศึกษาของตัวเองในหลาย ๆ คนที่พบ
ชอบอะไรง่าย ๆ
มักจะคิดว่า สิ่งที่ยากที่สุด คือ สิ่งที่ตนเองทำไม่ได้
ทั้ง ๆ ที่สิ่งที่ยากที่สุดนั้น คือ สิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนในชีวิต
พบที ก็ท้อใจที พาลหนี พาลไปถอนรายวิชาออกไปจากชีวิต
พร้อมกับไปตั้งหลักใหม่ เรียนจบช้ากว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน
เห็นมาเยอะแยะมากมายในมหาวิทยาลัยแห่งนี้
ความง่าย ๆ ก็คือการทำอะไรไม่เป็นในอนาคต
ได้รับแต่ใบปริญญาใบเดียว เอาไปแปะไว้ข้างฝาบ้าน
รอวันเวลาผุผัง
เมื่อเทียบกับสิ่งที่ยาก หากได้มาความรู้นั้นมา
มันอยู่กับเราไปตลอดชีวิตจนเราสิ้นลมหายใจ
ความล้มเหลวไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายที่เกิดขึ้นในชีวิตของคนเรา
คนที่ล้มเหลวแท้จริงคือคนที่ไม่กล้าแม้แต่จะลองพยายามต่างหาก
http://www.gotoknow.org/blog/scented-book/402887
"ฉันน่าจะทำอย่างนั้น
ฉันน่าจะทำอย่างนี้ ฉันน่าจะเป็น
ฉันน่าจะมี ..."
ก็แล้วทำไมถึงไม่ทำ ในวันที่ยังมีโอกาส
มีศักยภาพที่จะทำได้อย่างที่คิดล่ะ ...
การปล่อยให้คืนวันผ่านไปอย่างไร้ค่า
การปล่อยให้เวลาหมดไปอย่างไร้ค่า
เป็นคนละเรื่องเดียวกันกับความอดทน
ความอดทน คือ การรู้จักการรอคอยและรู้จักตัดสินใจอย่างรอบคอบ
ชายหนุ่มคนหนึ่งเอ่ยถามชายชราว่า
"ลุงคิดว่าอะไรคือเรื่องที่แย่ที่สุดในชีวิตครับ"
ชายชรายิ้มเล็ก ๆ ก่อนตอบว่า
"การไม่มีภาระอะไรให้รับผิดชอบเลยยังไงล่ะ
นั่นคือการเกิดมาสูญเปล่าโดยแท้จริง..."
โลกใบนี้กว้างใหญ่นัก
จงอยู่กับปัจจุบัน แต่อย่าลืมฝันถึงอนาคต ...
คิดถึงเรื่องการไม่ทำอะไรเลยของเหล่าเด็ก ๆ นักศึกษาของตัวเองในหลาย ๆ คนที่พบ
ชอบอะไรง่าย ๆ
มักจะคิดว่า สิ่งที่ยากที่สุด คือ สิ่งที่ตนเองทำไม่ได้
ทั้ง ๆ ที่สิ่งที่ยากที่สุดนั้น คือ สิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนในชีวิต
พบที ก็ท้อใจที พาลหนี พาลไปถอนรายวิชาออกไปจากชีวิต
พร้อมกับไปตั้งหลักใหม่ เรียนจบช้ากว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน
เห็นมาเยอะแยะมากมายในมหาวิทยาลัยแห่งนี้
ความง่าย ๆ ก็คือการทำอะไรไม่เป็นในอนาคต
ได้รับแต่ใบปริญญาใบเดียว เอาไปแปะไว้ข้างฝาบ้าน
รอวันเวลาผุผัง
เมื่อเทียบกับสิ่งที่ยาก หากได้มาความรู้นั้นมา
มันอยู่กับเราไปตลอดชีวิตจนเราสิ้นลมหายใจ
ความล้มเหลวไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายที่เกิดขึ้นในชีวิตของคนเรา
คนที่ล้มเหลวแท้จริงคือคนที่ไม่กล้าแม้แต่จะลองพยายามต่างหาก
http://www.gotoknow.org/blog/scented-book/402887
คมความคิดจากวิทยากรแห่งธรรม (เพื่อชีวิตที่ดีกว่า)
ผมชื่นชมโครงการบุ๊คสไมล์ของเซเว่นฯ นะครับที่ได้ออกหนังสือ รวมหนังสือดี ๆ ที่ลดราคา หรือหาซื้อได้ในราคาถูกมาขายปัญญาให้กับคนไทย
เมื่อคืนได้ TOP 1 มา คือ "เพื่อชีวิตที่ดีกว่า" เป็นหนังสือรวมคำสอนแห่งธรรมจากวิทยากรที่ได้รับการยอมรับทั่วประเทศ โดยส่วนใหญ่ก็คือ บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางด้านการให้ข้อธรรม
ผมขอนำช่วงหนึ่งของ คมความคิดจากวิทยากร (เรายกวัดมาไว้ที่เเซเว่นฯ) ในช่วงแรกมาฝากกัลยาณมิตรทั้งหลายครับ
@ พระเทพดิลก @
การใดเบียดเบียนตน และคนอื่นให้เดือดร้อน
... ควรงดเว้น ...
การใดเป็นประโยชน์ด้วยไม่เบียดเบียนตนและคนอื่น
... การนั้นควรทำ ...
@ พระมิตซูโอะ เควสโก @
ทุกข์เป็นความจริงของชีวิต
จงเอาทุกข์เป็นครูเป็นอาจารย์
ฝึกหัดปล่อยวางความคิดที่ไม่ดี
จนเห็นทุกข์จริง ๆ
ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จะปรากฎชัดเจน
@ พระธรรมกิตติวงษ์ @
หากจะมีชีวิตอยู่โดยไม่ทุกข์มากนัก ... จำต้อง
เราควรมองว่าชีวิตคือการเรียนรู้
เราจะมีแต่กำไรตลอดชีวิต
อะไรเกิดขึ้นก็ "พร้อมเรียนรู้"
และเรียนรู้ตลอดเวลา
ปัญญาก็งอกงามทุกคืนทุกวัน
@ พระมหาสมปอง ตาลปุตโต @
จงลืมเสียเถิดความหลัง
แล้วสร้างปัจจุบันเพื่ออนาคต
@ พระราชวิจิตรปฏิภาณ @
พลังบวกสร้างชีวิต
พลังความคิดสร้างสุข
อยากให้ชีวิตเป็นอย่างไร
ฝึกใจให้คิดเช่นนั้นบ่อย ๆ
@ พระธรรมโกศาจารย์ @
ทำสิ่งใดไม่ประมาทขาดปัญญา
ตามรักษาสัจจะทุกสถาน
เพียรเพิ่มพูนจาคะตลอดกาล
ศึกษาศานติธรรมประจำใจ
@ พระอาจารย์คึกฤทธิ์ @
การดับลงแห่งความทุกข์
มีได้เพราะการดับไปแห่งความเพลิน
@ แม่ชีศันสนีย์ @
ศิลปะการใช้ชีวิตที่ดีคือ
ศิลปะที่ไม่ทำให้คนอื่นเป็นทุกข์เพราะเรา
@ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา @
จงรักตัวเอง
และช่วยเหลือทุกคน
@ ดังตฤณ @
... ทุกข์ ...
เป็นสิ่งที่ควรรู้ให้รอบ
... เหตุเกิดทุกข์ ...
เป็นสิ่งที่ควรละให้สิ้น
... การดับทุกข์ ...
เป็นสิ่งที่ควรประจักษ์แจ้ง
... ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ...
เป็นสิ่งที่ควรเจริญให้มากทั้ง ๘ ประการ
@ ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ @
นิพพานนั้นไกลเอื้อม
แต่ในชาตินี้เราสามารถเข้าถึงชีวิตที่งดงาม
อันมีสาระสำคัญประการหนึ่ง ... คือ ...
การให้ และการรับที่ถูกทำนองคลองธรรม
หวังประโยชน์คำสอนธรรมจะตกลงสู่ท่านทั้งหลาย
สาธุ สาธุ สาธุ
http://www.gotoknow.org/blog/scented-book/403060
เมื่อคืนได้ TOP 1 มา คือ "เพื่อชีวิตที่ดีกว่า" เป็นหนังสือรวมคำสอนแห่งธรรมจากวิทยากรที่ได้รับการยอมรับทั่วประเทศ โดยส่วนใหญ่ก็คือ บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางด้านการให้ข้อธรรม
ผมขอนำช่วงหนึ่งของ คมความคิดจากวิทยากร (เรายกวัดมาไว้ที่เเซเว่นฯ) ในช่วงแรกมาฝากกัลยาณมิตรทั้งหลายครับ
@ พระเทพดิลก @
การใดเบียดเบียนตน และคนอื่นให้เดือดร้อน
... ควรงดเว้น ...
การใดเป็นประโยชน์ด้วยไม่เบียดเบียนตนและคนอื่น
... การนั้นควรทำ ...
@ พระมิตซูโอะ เควสโก @
ทุกข์เป็นความจริงของชีวิต
จงเอาทุกข์เป็นครูเป็นอาจารย์
ฝึกหัดปล่อยวางความคิดที่ไม่ดี
จนเห็นทุกข์จริง ๆ
ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จะปรากฎชัดเจน
@ พระธรรมกิตติวงษ์ @
หากจะมีชีวิตอยู่โดยไม่ทุกข์มากนัก ... จำต้อง
- รู้จักทุกข์ ด้วยปัญญา
- รู้ทันทุกข์ ด้วยโยนิโสมนสิการ
- อยู่กับทุกข์ ด้วยสติ
- อยู่เหนือทุกข์ ด้วยการปล่อยวาง
เราควรมองว่าชีวิตคือการเรียนรู้
เราจะมีแต่กำไรตลอดชีวิต
อะไรเกิดขึ้นก็ "พร้อมเรียนรู้"
และเรียนรู้ตลอดเวลา
ปัญญาก็งอกงามทุกคืนทุกวัน
@ พระมหาสมปอง ตาลปุตโต @
จงลืมเสียเถิดความหลัง
แล้วสร้างปัจจุบันเพื่ออนาคต
@ พระราชวิจิตรปฏิภาณ @
- เป็นพ่อที่แท้
- เป็นแม่ที่ถูก
- เป็นลูกที่ดี
- เป็นสามีที่น่าเสน่หา
- เป็นภรรยาแม่ศรีเรือน
- เป็นเพื่อนกัลยาณมิตร
- เป็นศิษย์วิชาการ
- เป็นอาจารย์น่าบูชา
- เจริญมรณานุสติ
พลังบวกสร้างชีวิต
พลังความคิดสร้างสุข
อยากให้ชีวิตเป็นอย่างไร
ฝึกใจให้คิดเช่นนั้นบ่อย ๆ
@ พระธรรมโกศาจารย์ @
ทำสิ่งใดไม่ประมาทขาดปัญญา
ตามรักษาสัจจะทุกสถาน
เพียรเพิ่มพูนจาคะตลอดกาล
ศึกษาศานติธรรมประจำใจ
@ พระอาจารย์คึกฤทธิ์ @
การดับลงแห่งความทุกข์
มีได้เพราะการดับไปแห่งความเพลิน
@ แม่ชีศันสนีย์ @
ศิลปะการใช้ชีวิตที่ดีคือ
ศิลปะที่ไม่ทำให้คนอื่นเป็นทุกข์เพราะเรา
@ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา @
จงรักตัวเอง
และช่วยเหลือทุกคน
@ ดังตฤณ @
... ทุกข์ ...
เป็นสิ่งที่ควรรู้ให้รอบ
... เหตุเกิดทุกข์ ...
เป็นสิ่งที่ควรละให้สิ้น
... การดับทุกข์ ...
เป็นสิ่งที่ควรประจักษ์แจ้ง
... ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ...
เป็นสิ่งที่ควรเจริญให้มากทั้ง ๘ ประการ
@ ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ @
นิพพานนั้นไกลเอื้อม
แต่ในชาตินี้เราสามารถเข้าถึงชีวิตที่งดงาม
อันมีสาระสำคัญประการหนึ่ง ... คือ ...
การให้ และการรับที่ถูกทำนองคลองธรรม
หวังประโยชน์คำสอนธรรมจะตกลงสู่ท่านทั้งหลาย
สาธุ สาธุ สาธุ
http://www.gotoknow.org/blog/scented-book/403060
วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
แตกต่างอย่างลงตัว ... (ว.วชิรเมธี)
เคยสังเกตไหมว่า ดอกไม้สวย ๆ กับแจกันที่รองรับช่อดอกไม้อยู่นั้น มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่...ทั้ง ๆ ที่สองสิ่งนี้มีความแตกต่าง ทว่าในที่สุดแล้วกลับอยู่ด้วยกันได้อย่างกลมกลืน
นอกจากนั้นแล้วยังช่วยขับเน้นให้อีกฝ่ายหนึ่งดูดีมีคุณค่ามากขึ้นกว่าเดิมอีกต่างหาก เช่น ดอกไม้ หากวางไว้ที่ไหนสักแห่งหนึ่งตามธรรมดาคงดูไม่โดดเด่น แต่หักปักไว้ในแจกัน ความโดดเด่นของดอกไม้กลับเป็นที่แจ่มชัด แจกันหากวางไว้เฉย ๆ โดยไม่มีดอกไม้ประดับ คุณค่าของแจกันก็ไม่สะท้อนออกมาเป็นที่ต้องตาต้องใจของผู้พบเห็น อะไรคือเคล็ดลับที่ทำให้ในความแตกต่างมีความงามและเอกภาพอันสมบูรณ์
"การยอมรับในข้อจำกัดของตัวเอง และเปิดใจกว้างยอมรับความต่างของคนอื่นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า" คือคำตอบ
"การยอมรับในข้อจำกัดของตัวเอง และเปิดใจกว้างยอมรับความต่างของคนอื่นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า" คือคำตอบ
คนทุกคนย่อมมีทั้งข้อดีและข้อด้อยอยู่ในตัวเอง ไม่มีใครในโลกนี้ที่เกิดมาพร้อมกับความสมบูรณ์ในทุกเรื่อง แม้แต่คนที่ดูเหมือนว่าจะสมบูรณ์ที่สุดอย่างพระพุทธเจ้า พระองค์ยังทรงเป็นลูกกำพร้าตั้งแต่แรกประสูติได้เพียง ๗ วัน
ธรรมชาติของมนุษย์ก็คือ ไม่มีใครสมบูรณ์ที่สุด คนที่พยายามมองหาความสมบูรณ์แบบจากคนอื่น สุดท้ายจะผิดหวัง และมองข้ามสิ่งที่ดีของคนที่อยู่ตรงหน้าเราไปอย่างน่าเสียดาย
พระพุทธศาสนาสอนวิธีรับมือกับความไม่สมบูรณ์แบบเอาไว้ว่า
๑. ต้องตระหนักรู้ความจริงให้เท่าทัน ว่าธรรมชาติของมนุษย์ก็คือ ไม่มีใครสมบูรณ์แบบไปเสียทุกเรื่อง
๒. เมื่อรู้เท่าทันความจริงแล้ว ควรฝึกยอมรับในความไม่สมบูรณ์นั้นอย่างมีสติ ไม่ใช่ยกเอาความไม่สมบูรณ์นั้นมาเป็นจุดอ่อนเพื่อทำลายตนเองหรือคนอื่น
๓. หัดมองโลกในแง่ดี กล่าวคือ มองหาแง่ดีแง่งามของทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องเอาไว้เสมอ อย่ามองคนในมิติเดียวเท่าที่ตาเห็น หูได้ฟัง หรือกายได้สัมผัส แต่ควรมองคนให้เป็นแบบสามมิติที่มีทั้งมุมลึก กว้าง และยาว แล้วเราจะค้นพบว่า ใครบางคนที่เราเห็นว่าเขาเป็นคนแย่ ๆ นั้น บางทีเขาก็มีข้อดีอยู่ตั้งมากมาย
๔. ในชีวิตการครองเรือนครองรัก ซึ่งจำเป็นต้องใช้ศิลปะในการอยู่ร่วมกันเป็นอย่างสูงนั้น จำเป็นต้องฝึกมองโลกในแง่ดีเอาไว้เสมอ หากเราแสวงหาความสมบูรณ์จากคนที่เรารักไปเสียทุกเรื่อง สุดท้ายเมื่ออยู่ด้วยกันไป เราก็จะพบว่าคนที่เราเลือก นับวันดูขาดเสน่ห์ ส่วนคนที่เรายังไม่ได้เลือกกลับดูดีขึ้นทุกวัน ๆ ขืนคิดอย่างนี้กันบ่อย ๆ ไม่นานนัก รักก็จาง เสน่ห์ก็หาย และอาจลงเอยที่ทางใครทางมัน
๕. ศิลปะการมองโลกในแง่ดี ท่านพุทธทาสภิกขุประพันธ์เป็นกวีนิพนธ์เอาไว้อย่างไพเราะดังต่อไปนี้
"เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขาจงเลือกเอาส่วนที่ดีเขามีอยู่
เป็นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู
ส่วนที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย
จะหาคนมีดีโดยส่วนเดียว
อย่ามัวเที่ยวค้นหาสหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหาหนวดเต่าตายเปล่าเอย
ฝึกให้เคยมองแต่ดีมีคุณจริง"
คนที่เข้าใจความจริงของโลกและชีวิตมักเป็นคนที่อยู่ในโลกนี้อย่างมีความสุข แม้จะครองเรือนในฐานะหัวหน้าครอบครัวก็มีความสุข หรือแม้ขณะอยู่ในช่วงครองรักเพื่อร่วมกันสร้างครอบครัวแสนสุข ชีวิตก็ไม่ตึงเครียด สุดโต่งเกินไป
คนที่มองเห็นคุณค่าของความแข็งแกร่งจากแจกันท่ามกลางมวลดอกไม้ คนที่รู้ว่าดอกไม้จะงาม หากปักอยู่ในแจกันที่แตกต่างอย่างเหมาะสม คือ คนที่มีโอกาสครองเรือนครองรักได้อย่างยั่งยืน
ส่วนคนที่อยากให้แจกันอ่อนโยนเหมือนดอกไม้ และคนที่อยากให้ดอกไม้หลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกับแจกัน ชีวิตแต่งงานจะอายุสั้นอย่างไม่น่าเชื่อ
ขอขอบคุณ http://www.gotoknow.org/blog/scented-book/429715
ขอขอบคุณ http://www.gotoknow.org/blog/scented-book/429715
แสงเทียน สู่ แสงตะวัน ... (กูญแจสำรองของชีวิต)
วันเวลาที่เรามีความสุข มันมักจะผ่านไปอย่างรวดเร็ว ... หากแต่วันเวลาที่เราจมอยู่ในกองทุกข์ กลับเดินผ่านเราอย่างเชื่องช้าสุดทรมาน หนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อ "กุญแจสำรองของชีวิต" เขียนโดย ลูกปัด สำนักพิมพ์ใยไหม เขียนไว้ว่า
เคยไหม...ทำอะไรให้ใครบางคนอย่างตั้งใจและทุ่มเท
แต่สิ่งที่ได้คืนกลับมาคือ เราเป็นเพียงเทียนเล่มเล็ก ๆ
ที่ไม่เคยอยู่ในสายตา
พอส่องทางให้เขาไปพบเจอแสงตะวันแล้วก็ละลายหายไป
ไม่มีค่า
ไม่มีใครเห็นความดี
และถูกมองข้ามอยู่เสมอ
สิ่งนั้นอาจทำให้เราเหนื่อยใจ หรือ ท้อแท้
แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้เปลี่ยนแนวคิด วิธีคิด
หรือแนวทางการปฎิบัติตัว
โดยเอาเรื่องเหล่านี้มาเป็นส่วนประกอบในการตัดสินใจ
ไม่ใช่เรื่องที่ต้องเอามาเป็นอารมณ์ว่า
ถ้าเขาไม่เห็นความดีของเรา หรือ ทำความดีแล้วไม่ได้รับสิ่งดี ๆ
แล้วต่อไปเราก็จะไม่ทำดีอีก
ชีวิตไม่ได้สอนเรามาแบบนั้น
ชีวิตสอนให้เรารู้จักการเป็นคนดี
โดยเริ่มต้นจากการทำความดีที่ไม่มีใครมองเห็นให้ได้ก่อน
แม้ว่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ดูยากพอสมควร
แต่อยากให้คิดว่า มันก็เหมือนกับการเรียนรู้ในเรื่องที่เรา
ไม่มีความรู้มาก่อน
เริ่มต้นเรียนบทแรกอาจจะดูยากสักหน่อย
แต่ต่อไปทุกอย่างก็จะง่ายขึ้น
ถ้าเราเริ่มรู้สึกมีความสุขเมื่อเห็นใครสักคนมีความสุข
หรือประสบความสำเร็จได้
โดยมีเราเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จนั้น
นั่นแหละที่ถือว่าเราได้ผ่านบทที่ยากที่สุดไปแล้ว
แสงเทียนเล็ก ๆ ในคืนที่มืดมนนั้นจึงสำคัญมาก
เวลาที่ใครสักคนตกอยู่ในความมืดมิด
ด้วยบทเรียนที่ยากบทนั้นจะทำให้เรายิ้มได้และพอใจ
กับการเป็นแสงเทียนส่องชีวิตให้ใครสักคน
ได้เดินทางไปเพื่อพบเจอแสงสว่างจากดวงตะวัน
แม้เมื่อเวลาผ่านไป
เทียนจะมอดดับ และถูกหลงลืมไปในที่สุดก็ตาม
ขอขอบคุณ http://www.gotoknow.org/blog/scented-book/433187
แสงเทียน สู่ แสงตะวัน
เคยไหม...ทำอะไรให้ใครบางคนอย่างตั้งใจและทุ่มเท
แต่สิ่งที่ได้คืนกลับมาคือ เราเป็นเพียงเทียนเล่มเล็ก ๆ
ที่ไม่เคยอยู่ในสายตา
พอส่องทางให้เขาไปพบเจอแสงตะวันแล้วก็ละลายหายไป
ไม่มีค่า
ไม่มีใครเห็นความดี
และถูกมองข้ามอยู่เสมอ
สิ่งนั้นอาจทำให้เราเหนื่อยใจ หรือ ท้อแท้
แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้เปลี่ยนแนวคิด วิธีคิด
หรือแนวทางการปฎิบัติตัว
โดยเอาเรื่องเหล่านี้มาเป็นส่วนประกอบในการตัดสินใจ
ไม่ใช่เรื่องที่ต้องเอามาเป็นอารมณ์ว่า
ถ้าเขาไม่เห็นความดีของเรา หรือ ทำความดีแล้วไม่ได้รับสิ่งดี ๆ
แล้วต่อไปเราก็จะไม่ทำดีอีก
ชีวิตไม่ได้สอนเรามาแบบนั้น
ชีวิตสอนให้เรารู้จักการเป็นคนดี
โดยเริ่มต้นจากการทำความดีที่ไม่มีใครมองเห็นให้ได้ก่อน
แม้ว่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ดูยากพอสมควร
แต่อยากให้คิดว่า มันก็เหมือนกับการเรียนรู้ในเรื่องที่เรา
ไม่มีความรู้มาก่อน
เริ่มต้นเรียนบทแรกอาจจะดูยากสักหน่อย
แต่ต่อไปทุกอย่างก็จะง่ายขึ้น
ถ้าเราเริ่มรู้สึกมีความสุขเมื่อเห็นใครสักคนมีความสุข
หรือประสบความสำเร็จได้
โดยมีเราเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จนั้น
นั่นแหละที่ถือว่าเราได้ผ่านบทที่ยากที่สุดไปแล้ว
แสงเทียนเล็ก ๆ ในคืนที่มืดมนนั้นจึงสำคัญมาก
เวลาที่ใครสักคนตกอยู่ในความมืดมิด
ด้วยบทเรียนที่ยากบทนั้นจะทำให้เรายิ้มได้และพอใจ
กับการเป็นแสงเทียนส่องชีวิตให้ใครสักคน
ได้เดินทางไปเพื่อพบเจอแสงสว่างจากดวงตะวัน
แม้เมื่อเวลาผ่านไป
เทียนจะมอดดับ และถูกหลงลืมไปในที่สุดก็ตาม
กุญแจสำรองของชีวิต
การทำความดีไม่จำเป็นต้องมีใครเห็นหากแสงเทียนน้อย ๆ เล่มนั้น คือ คุณครูตัวเล็ก ๆ ที่ขัดเกลาลูกศิษย์ให้เติบโตทีละน้อย ๆ เมื่อลูกศิษย์เติบโตออกไปเป็นคนดีของสังคม แสงเทียนน้อย ๆ เล่มนั้นก็คงภาคภูมิใจน่าดู โดยไม่ได้หวังผลตอบแทนใด ๆหากแสงเทียนน้อย ๆ คือ การทำความดีโดยไม่หวังผลตอบแทน ถึงแม้จะเป็นความดีเล็ก ๆ ก็ควรค่าแก่ความภูมิใจที่ได้ทำลงไปด้วยหัวใจที่เบิกบาน
สิ่งตอบแทนที่คุ้มค่าอยู่แล้วคือ
ความสุขที่เกิดขึ้นในใจของเราเอง
ขอขอบคุณ http://www.gotoknow.org/blog/scented-book/433187
เราจะระงับความโกรธของเราได้อย่างไร ?
เราจะระงับความโกรธของเราได้อย่างไร ?
ในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อธิบายเอาไว้ว่า “ เวรระงับไม่ได้ เพราะเข้าไปผูกโกรธ 4 ประการ ”
1. คนโน้นได้ด่าเรา
2. คนโน้นได้ตีเรา
3. คนโน้นได้ชนะเรา
4. คนโน้นได้ขโมยของๆเราไป
เราอาจจะไม่ยอมละความโกรธจากใครคนหนึ่งเพราะว่าสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แต่การที่เราผูกโกรธนั้นไว้กับใจ ก็เปรียบเหมือนดั่งธนูที่คอยทิ่มแทงใจเราไปเรื่อย คิดแต่จะคอยจองเวร คิดแต่อยากให้อีกฝ่ายเจ็บช้ำ สรุปแล้วก็คือ อยากจะเอาชนะ(มัน)ให้ได้นั่นเอง
แต่ทราบไหม? การเอาชนะที่แท้จริงคืออะไร ? ในขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ได้พูดถึงเรื่องการชนะไว้ว่า
1. ผู้ใดชนะหมู่มนุษย์ตั้งพันครั้ง ครั้งละพันคนในสงคราม ผู้นั้นมิใช่ผู้สูงสุดแห่งชนะในสงคราม
2. ผู้ใดชนะตนเองได้เพียงหนเดียว ผู้นั้นเป็นยอดแห่งผู้ชนะในสงคราม
และ
1. ตนเท่านั้นที่บุคคลชนะแล้วประเสริฐ
2. หมู่สัตว์นอกจากนี้ที่บุคคลชนะแล้ว ไม่ประเสริฐเลย
ในเมื่อความโกรธทำให้เราร้อนรุ่ม ไม่สบายใจ เราก็ควรจะฆ่าความโกรธไปจากใจของเราดีกว่าซึ่งการฆ่าความโกรธมีประโยชน์ ดังนี้
1. ฆ่าความโกรธได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข
2. ฆ่าความโกรธได้แล้ว ย่อมไม่โศกเศร้า
ในปฐมอาฆาตวินยสูตรได้กล่าวถึงธรรมที่ใช้ในกรระงับความอาฆาตไว้ 5 ประการด้วยกันค่ะ ถ้าคุณกำลังมีความโกรธใครอยู่ ให้ลองนำไปใช้ดู
1. พึงเจริญเมตตาในบุคคลนั้น
2. พึงเจริญกรุณาในบุคคลนั้น
3. พึงเจริญอุเบกขาในบุคคลนั้น (หมายความว่า วางใจเป็นกลาง วางเฉย ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุและรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามควรแก่เหตุนั้น )
4. ไม่นึกไม่ใส่ใจในบุคคลนั้น
5. นึกในใจว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน
ข้อมูลจาก http://larndham.org/
ในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อธิบายเอาไว้ว่า “ เวรระงับไม่ได้ เพราะเข้าไปผูกโกรธ 4 ประการ ”
1. คนโน้นได้ด่าเรา
2. คนโน้นได้ตีเรา
3. คนโน้นได้ชนะเรา
4. คนโน้นได้ขโมยของๆเราไป
เราอาจจะไม่ยอมละความโกรธจากใครคนหนึ่งเพราะว่าสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แต่การที่เราผูกโกรธนั้นไว้กับใจ ก็เปรียบเหมือนดั่งธนูที่คอยทิ่มแทงใจเราไปเรื่อย คิดแต่จะคอยจองเวร คิดแต่อยากให้อีกฝ่ายเจ็บช้ำ สรุปแล้วก็คือ อยากจะเอาชนะ(มัน)ให้ได้นั่นเอง
แต่ทราบไหม? การเอาชนะที่แท้จริงคืออะไร ? ในขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ได้พูดถึงเรื่องการชนะไว้ว่า
1. ผู้ใดชนะหมู่มนุษย์ตั้งพันครั้ง ครั้งละพันคนในสงคราม ผู้นั้นมิใช่ผู้สูงสุดแห่งชนะในสงคราม
2. ผู้ใดชนะตนเองได้เพียงหนเดียว ผู้นั้นเป็นยอดแห่งผู้ชนะในสงคราม
และ
1. ตนเท่านั้นที่บุคคลชนะแล้วประเสริฐ
2. หมู่สัตว์นอกจากนี้ที่บุคคลชนะแล้ว ไม่ประเสริฐเลย
ในเมื่อความโกรธทำให้เราร้อนรุ่ม ไม่สบายใจ เราก็ควรจะฆ่าความโกรธไปจากใจของเราดีกว่าซึ่งการฆ่าความโกรธมีประโยชน์ ดังนี้
1. ฆ่าความโกรธได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข
2. ฆ่าความโกรธได้แล้ว ย่อมไม่โศกเศร้า
ในปฐมอาฆาตวินยสูตรได้กล่าวถึงธรรมที่ใช้ในกรระงับความอาฆาตไว้ 5 ประการด้วยกันค่ะ ถ้าคุณกำลังมีความโกรธใครอยู่ ให้ลองนำไปใช้ดู
1. พึงเจริญเมตตาในบุคคลนั้น
2. พึงเจริญกรุณาในบุคคลนั้น
3. พึงเจริญอุเบกขาในบุคคลนั้น (หมายความว่า วางใจเป็นกลาง วางเฉย ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุและรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามควรแก่เหตุนั้น )
4. ไม่นึกไม่ใส่ใจในบุคคลนั้น
5. นึกในใจว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน
ข้อมูลจาก http://larndham.org/
"เตรียมตัวพูดอย่างไรให้ประทับใจคนฟัง"
การเตรียมตัวพูดให้ยึดหลักดังนี้ "ขึ้นต้นให้ตื่นเต้น ตอนกลางให้กลมกลืน ตอนจบให้จับใจ" (ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์, พูดได้-พูดเป็น)
การฝึกพูด อาจฝึกคนเดียว หรือฝึกให้ผู้อื่นฟังก็ได้ มี 3 วิธี คือ
1. ฝึกพูดโดยวิธีธรรมชาติ คือ มีโอกาสให้แสดงการพูด จะต้องพูดทันที
2. ฝึกโดยการอ่านจากตำรา คือ ศึกษาตำราที่เกี่ยวกับวิชาการพูด แล้วพยายามฝึกตามหลักการพูดนั้น ๆ
3. ฝึกโดยให้ผู้อื่นแนะนำ
ในการพูดแต่ละครั้ง ผู้พูดจะต้องเตรียมตัวให้ดี เตรียมพร้อมทั้งเนื้อเรื่องที่จะพูดและบุคลิกภาพ สร้างความเชื่อมั่นให้กับตัวเอง เดินให้สง่าและปรากฏตัวอย่างกระตือรือร้น พูดให้เสียงดัง ชัดเจน แต่งกายให้สุภาพ เรียบร้อย เหมาะกับกาลเทศะ แสดงสีหน้าให้สดชื่น แจ่มใส มีชีวิตชีวา เพราะผู้ฟังจะได้สนใจ และเกิดความศรัทธาเป็นเบื้องต้น ใช้ท่าทางประกอบการพูดให้เหมาะสม เมื่อพูดไป ๆ ผู้ฟังจะแสดงออกมาให้ปรากฏว่า ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจฟัง สนใจหรือไม่สนใจฟัง ผู้พูดต้องรู้จักสังเกตผู้ฟัง แล้วปรับปรุงเนื้อหาเสียใหม่ เช่น อาจเล่านิทานแทรก หรือมีมุขตลกมาเสนอ แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้เป็นหยาบโลน เพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียดของผู้ฟัง
การฝึกพูด อาจฝึกคนเดียว หรือฝึกให้ผู้อื่นฟังก็ได้ มี 3 วิธี คือ
1. ฝึกพูดโดยวิธีธรรมชาติ คือ มีโอกาสให้แสดงการพูด จะต้องพูดทันที
2. ฝึกโดยการอ่านจากตำรา คือ ศึกษาตำราที่เกี่ยวกับวิชาการพูด แล้วพยายามฝึกตามหลักการพูดนั้น ๆ
3. ฝึกโดยให้ผู้อื่นแนะนำ
ในการพูดแต่ละครั้ง ผู้พูดจะต้องเตรียมตัวให้ดี เตรียมพร้อมทั้งเนื้อเรื่องที่จะพูดและบุคลิกภาพ สร้างความเชื่อมั่นให้กับตัวเอง เดินให้สง่าและปรากฏตัวอย่างกระตือรือร้น พูดให้เสียงดัง ชัดเจน แต่งกายให้สุภาพ เรียบร้อย เหมาะกับกาลเทศะ แสดงสีหน้าให้สดชื่น แจ่มใส มีชีวิตชีวา เพราะผู้ฟังจะได้สนใจ และเกิดความศรัทธาเป็นเบื้องต้น ใช้ท่าทางประกอบการพูดให้เหมาะสม เมื่อพูดไป ๆ ผู้ฟังจะแสดงออกมาให้ปรากฏว่า ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจฟัง สนใจหรือไม่สนใจฟัง ผู้พูดต้องรู้จักสังเกตผู้ฟัง แล้วปรับปรุงเนื้อหาเสียใหม่ เช่น อาจเล่านิทานแทรก หรือมีมุขตลกมาเสนอ แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้เป็นหยาบโลน เพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียดของผู้ฟัง
เส้นทางสู่ความเป็นผู้นำ
บางคนเกิดมามีชาติตระกูลดี มีความเป็นผู้นำอยู่ในตัว บางคนเกิดมาต้องมาฝึกฝนตนเองก่อนจึงจะสามารถเป็นผู้นำได้ แต่บางคนเมื่อเกิดเหตุการณ์สถานการณ์ที่วิกฤตจึงได้เป็นผู้นำตามสถานการณ์นั้นๆ
แล้วถ้าเราเกิดมา ไม่ได้มีชาติตระกูลที่ดี แต่เราต้องการเป็นผู้นำ เราก็สามารถฝึกฝนได้ ซึ่งคนเราสามารถฝึกฝนและเรียนรู้ได้หลายทาง ดังนี้
- ต้องมีจิตใจที่มุ่งหมั้น อดทน ตั้งเป้าหมายว่าเราจะเป็นผู้นำให้ได้และเมื่อได้เป็นผู้นำในองค์กรใด องค์หนึ่งแล้ว จงแสดงฝีมือออกมาให้ปรากฏ ถ้ามีปัญหาอุปสรรคก็ขอให้ทำใจเยือกเย็น รับสถานการณ์ต่างๆให้ได้
- ต้องเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของลูกน้องบ้าง แต่ไม่ต้องเชื่อทั้งหมดก็ได้ เพราะการตัดสินใจขึ้นอยู่กับผู้นำ
- กล้าที่จะคิดอะไรใหม่ๆ แน่นอน มนุษย์เราไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงแต่มนุษย์ของเราจะเจริญก้าวหน้าได้ด้วยการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น การคิดอะไรใหม่ๆ การทำอะไรใหม่ๆ ช่วยให้เกิดการพัฒนาตนเอง พัฒนาองค์กร รวมทั้งพัฒนาประเทศชาติด้วย จงกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา
- กล้าที่จะเสี่ยง พร้อมที่จะยอมรับความล้มเหลว คนเราเมื่อดูภาพคนที่ประสบความสำเร็จมักจะดูด้วยความสรรเสริญ แต่หารู้ไม่ว่า คนที่ประสบความสำเร็จโดยมากมักผ่านการล้มเหลวมาแล้วทั้งนั้น เช่น อดีตนักการเมืองที่ยิ่งใหญ่ อดีตประธานาธิบดีที่ยิ่งใหญ่มักผ่านการสอบตกหรือไม่ได้รับการคัดเลือกมาแล้วตั้งมากมาย แต่สุดท้ายและท้ายสุด เขาเหล่านั้นจึงประสบความสำเร็จ
- กล้ารับผิดชอบ คุณสมบัติของผู้นำที่ดีมีอยู่ข้อหนึ่ง ก็คือ ความรับผิดชอบ แน่นอนไม่มีใครที่ไม่เคยทำผิด หรือ ผิดพลาด การตัดสินใจบางอย่างอาจก่อให้เกิดการผิดพลาด แต่คนที่เป็นผู้นำที่ดีต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจที่ผิดพลาดของตนเอง
- มีความซื่อสัตย์ การเป็นผู้นำนอกจากทำงานเก่งแล้ว ยังต้องมีความซื่อสัตย์และสัตย์ซื่อต่อองค์กร
เพราะถ้าผู้นำไม่มีความซื่อสัตย์เสียแล้ว เช่น โกงกินเงินขององค์กร เวลาลูกน้องโกงกินบ้างผู้นำมักจะไม่กล้าว่าให้แก่ลูกน้อง เพราะตนเองก็ทำมาก่อน
- ผู้นำที่ดีและมีใจที่กว้างต้องรู้จักสนับสนุนลูกน้อง และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ผู้นำที่ดีต้องรู้จักสร้าง
คนในองค์กร เพราะถ้าคนในองค์กรไม่มีความรู้ความสามารถ ก็มักจะทำให้องค์กรมีปัญหาได้
ดังนั้น ผู้นำที่ดีจำเป็นจะต้องสนับสนุนลูกน้องให้คนที่ทำงานได้เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง และเลื่อน
ขั้นเงินเดือนให้สูงขึ้น เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้ลูกน้อง
- ผู้นำที่ดีต้องมีบุคลิกภาพที่ดีเยี่ยม สุขภาพร่างกายดีแข็งแรง ไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บ มีใครเคยเห็น
ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี ที่เจ็บป่วย เดินแทบไม่ได้ ขึ้นไปพูดหาเสียง พูดสุนทรพจน์บ้างไหม
ถ้ามีก็ดูแล้วไม่ค่อยสง่างาม ดังนั้น ผู้นำต้องรู้จักรักษาสุขภาพของตนเอง พัฒนาบุคลิกภาพของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การพูด การเจรจาต่อรอง ต่างๆ
และมีอีกหลายปัจจัย ที่ผู้นำต้องนำไปฝึกฝน เรียนรู้กัน เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำที่ดีได้ คนเราสามารถฝึกฝนกันได้ครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเรียน การพูด บุคลิกภาพ นิสัย ใจคอ จิตใจ ดังนั้น ผู้ต้องการเป็นผู้นำต้องอดทน พัฒนาตนเอง ปรับปรุงตนเอง แล้วเส้นทางสู่ความเป็นผู้นำจะอยู่ไม่ไกลจากเราครับ
โดย..ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)
แล้วถ้าเราเกิดมา ไม่ได้มีชาติตระกูลที่ดี แต่เราต้องการเป็นผู้นำ เราก็สามารถฝึกฝนได้ ซึ่งคนเราสามารถฝึกฝนและเรียนรู้ได้หลายทาง ดังนี้
- ต้องมีจิตใจที่มุ่งหมั้น อดทน ตั้งเป้าหมายว่าเราจะเป็นผู้นำให้ได้และเมื่อได้เป็นผู้นำในองค์กรใด องค์หนึ่งแล้ว จงแสดงฝีมือออกมาให้ปรากฏ ถ้ามีปัญหาอุปสรรคก็ขอให้ทำใจเยือกเย็น รับสถานการณ์ต่างๆให้ได้
- ต้องเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของลูกน้องบ้าง แต่ไม่ต้องเชื่อทั้งหมดก็ได้ เพราะการตัดสินใจขึ้นอยู่กับผู้นำ
- กล้าที่จะคิดอะไรใหม่ๆ แน่นอน มนุษย์เราไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงแต่มนุษย์ของเราจะเจริญก้าวหน้าได้ด้วยการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น การคิดอะไรใหม่ๆ การทำอะไรใหม่ๆ ช่วยให้เกิดการพัฒนาตนเอง พัฒนาองค์กร รวมทั้งพัฒนาประเทศชาติด้วย จงกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา
- กล้าที่จะเสี่ยง พร้อมที่จะยอมรับความล้มเหลว คนเราเมื่อดูภาพคนที่ประสบความสำเร็จมักจะดูด้วยความสรรเสริญ แต่หารู้ไม่ว่า คนที่ประสบความสำเร็จโดยมากมักผ่านการล้มเหลวมาแล้วทั้งนั้น เช่น อดีตนักการเมืองที่ยิ่งใหญ่ อดีตประธานาธิบดีที่ยิ่งใหญ่มักผ่านการสอบตกหรือไม่ได้รับการคัดเลือกมาแล้วตั้งมากมาย แต่สุดท้ายและท้ายสุด เขาเหล่านั้นจึงประสบความสำเร็จ
- กล้ารับผิดชอบ คุณสมบัติของผู้นำที่ดีมีอยู่ข้อหนึ่ง ก็คือ ความรับผิดชอบ แน่นอนไม่มีใครที่ไม่เคยทำผิด หรือ ผิดพลาด การตัดสินใจบางอย่างอาจก่อให้เกิดการผิดพลาด แต่คนที่เป็นผู้นำที่ดีต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจที่ผิดพลาดของตนเอง
- มีความซื่อสัตย์ การเป็นผู้นำนอกจากทำงานเก่งแล้ว ยังต้องมีความซื่อสัตย์และสัตย์ซื่อต่อองค์กร
เพราะถ้าผู้นำไม่มีความซื่อสัตย์เสียแล้ว เช่น โกงกินเงินขององค์กร เวลาลูกน้องโกงกินบ้างผู้นำมักจะไม่กล้าว่าให้แก่ลูกน้อง เพราะตนเองก็ทำมาก่อน
- ผู้นำที่ดีและมีใจที่กว้างต้องรู้จักสนับสนุนลูกน้อง และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ผู้นำที่ดีต้องรู้จักสร้าง
คนในองค์กร เพราะถ้าคนในองค์กรไม่มีความรู้ความสามารถ ก็มักจะทำให้องค์กรมีปัญหาได้
ดังนั้น ผู้นำที่ดีจำเป็นจะต้องสนับสนุนลูกน้องให้คนที่ทำงานได้เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง และเลื่อน
ขั้นเงินเดือนให้สูงขึ้น เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้ลูกน้อง
- ผู้นำที่ดีต้องมีบุคลิกภาพที่ดีเยี่ยม สุขภาพร่างกายดีแข็งแรง ไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บ มีใครเคยเห็น
ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี ที่เจ็บป่วย เดินแทบไม่ได้ ขึ้นไปพูดหาเสียง พูดสุนทรพจน์บ้างไหม
ถ้ามีก็ดูแล้วไม่ค่อยสง่างาม ดังนั้น ผู้นำต้องรู้จักรักษาสุขภาพของตนเอง พัฒนาบุคลิกภาพของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การพูด การเจรจาต่อรอง ต่างๆ
และมีอีกหลายปัจจัย ที่ผู้นำต้องนำไปฝึกฝน เรียนรู้กัน เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำที่ดีได้ คนเราสามารถฝึกฝนกันได้ครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเรียน การพูด บุคลิกภาพ นิสัย ใจคอ จิตใจ ดังนั้น ผู้ต้องการเป็นผู้นำต้องอดทน พัฒนาตนเอง ปรับปรุงตนเอง แล้วเส้นทางสู่ความเป็นผู้นำจะอยู่ไม่ไกลจากเราครับ
โดย..ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)