แท้ที่จริงแล้วพระพุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนาที่สอนให้มองโลกในแง่ดี (Optimism) หรือ มองโลกในแง่ร้าย (Pessimism) แต่พระพุทธศาสนาสอนให้มองโลกตามความเป็นจริง (Realism) นั่นคือ มองโลกอย่างที่โลกมันเป็น ไม่ใช่อย่างที่เราอยากให้เป็น
"ความทุกข์" เป็นความจริงอย่างหนึ่งที่มีอยู่คู่กับโลก แต่ "ความสุข" ก็เป็นความจริงอีกอย่างหนึ่งที่เคียงคู่มากับความทุกข์ด้วยเช่นกัน และโลกก็ไม่ได้มีเพียงความสุขความทุกข์สองอย่างนี้เท่านั้น ทว่าโลกนี้ยังมีภาวะที่เรียกว่า "เหนือสุขเหนือทุกข์" อยู่อีกด้วย
คน ที่มองโลกตามความเป็นจริง ยามมีความทุกข์จึงไม่ท้อ และยามมีความสุขจึงไม่หลงติดในความสุขจนเกินพอดี เพราะเขาย่อมเข้าใจเป็นอย่างดีว่า ยังมีภาวะที่ประเสริฐกว่าความสุขอยู่อีก นั่นคือ การอยู่เหนือทั้งสุขทั้งทุกข์ตลอดกาล
อย่าง ไรก็ตาม แม้โลกจะมีสุขและทุกข์ปกกันไป แต่ดูเหมือนว่าช่วงเวลาแห่งความสุขของคนเรานั้นมักจะแสนสั้นเสียเหลือเกิน วันหนึ่ง ๆ ชีวิตช่างคลุกคลีตีโมงอยู่กับเรื่องราวที่ทำให้ทุกข์ตั้งร้อยแปดพันเก้าไม่ รู้จบสิ้น ทำอย่างไรดีนะเราจึงจะออกมาจากความทุกข์ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หรือถึงไม่ออกมาอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ก็ขอแต่เพียงอยู่กับความทุกข์อย่างเป็นมิตรก็พอแล้ว
เรามาลองเรียนรู้วิธีอยู่กับความทุกข์ให้เป็นสุขกันดีกว่า
๑. อยู่กับความจริง ทิ้งความกังวล ความ ทุกข์หลายอย่างในชีวิตของเรา ถ้าว่ากันตามเนื้อผ้าแล้วสัดส่วนของความทุกข์จริง ๆ จะมีไม่มาก แต่บางครั้งที่รู้สึกทุกข์มาก ๆ เป็นเพราะว่าเราสร้างภาพความทุกข์นั้นให้ใหญ่โตเกินจริง เช่น ใครบางคนพอรู้ว่าจะไปสอบสัมภาษณ์วันพรุ่งนี้ คืนนั้นทั้งคืนนอนไม่หลับ คิดโน่นคิดนี่วุ่นวายไปหมด กลัวว่าจะสอบสัมภาษณ์ไม่ผ่าน กลัวว่าจะตอบคำถามไม่ได้ กลัวว่าเสื้อผ้าที่สวมใส่จะดูไม่ดี กลัวว่าหน้าจะไม่ใส กลัวว่าความรู้ความสามารถของตัวเองจะไม่สอดคล้องกับที่บริษัทนั้น ๆ ต้องการ กลัวว่ารถจะติดแล้วไปสาย หรือสุดท้ายกลัวว่าถ้าไปสอบสัมภาษณ์ไม่ผ่าน คนที่บ้าน เพื่อน พ่อแม่ จะปรามาสว่า เอาดีไม่ได้
เรา กลัวไปสารพัด อย่าง ทั้ง ๆ ที่ในสถานการณ์จริง สิ่งที่เรากลัวมาตั้งสิบอย่างนั้นอาจเกิดขึ้นจริงเพียงอย่างเดียงเท่านั้น แต่กว่าจะรู้เช่นนี้ได้ เราก็ปล่อยให้ความทุกข์ที่เรากังวลนั้นทำร้ายเรามาแล้วทั้งคืน
นี่แหละคือความทุกข์ที่เกิดจากการสร้างภาพของเราเอง
ความทุกข์อย่างนี้เรียกว่า ทุกข์เพราะอุปทาน
หรือทุกข์เพราะฉันสร้างมันขึ้นมาเองจากความกังวล
ทุกข์อย่างนี้ บางทีร้ายกว่าตัวความทุกข์จริง ๆ ที่เรากำลังเผชิญอยู่ด้วยซ้ำไป
ดัง นั้น หากเรากำลังทุกข์ด้วยเรื่องใด ลองถามตัวเองดูซิว่า สิ่งที่กังวลอยู่นั้นมันน่ากลัวจริง ๆ หรือว่าเป็นเพียงสิ่งที่เราสร้างมันขึ้นมากันแน่ ลองแยกทุกข์แท้ ๆ ออกจากความกังวลให้ได้ แล้วจะเห็นว่า ทุกข์แท้ ๆ ที่ควรทุกข์มีอยู่นิดเดียวเอง
๒. ฝึก "ช่างมัน" ให้เคยชิน วิธี คลายทุกข์ประการที่สองนี้ก็ลองสืบเนื่องมาจากตัวอย่างข้างต้น เราจะเห็นว่า การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมทุกวันนี้ สิ่งที่คนเราแคร์มากที่สุด นอกจากเรื่องราวของตัวเองแล้ว ก็คือ "สังคม" หรือ "สายตาของคนอื่น"
"สายตาของคนอื่น" นั้นมีอิทธิพลต่อความทุกข์ความสุขในชีวิตของคนเรามาก เราจะเป็นอย่างไร จะใช้ชีวิตอย่างไร ความจริงก็น่าจะเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเราเองล้วนๆ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง เรามักไม่เชื่อมั่นในวิจารณญาณของตัวเอง เรามักคิดเสมอว่า เมื่อเราเป็นอย่างนี้ พูดอย่างนี้ ทำอย่างนี้ เดินอย่างนี้ ใช้ชีวิตอย่างนี้ คบเพื่อนคนนี้ ใช้โทรศัพท์รุ่นหรือยี่ห้อนี้ ชอบนักดนตรีคนนี้ ใช้เครื่องสำอางยี่ห้อนี้ หรือแม้กระทั่งอ่านนิตยสารชื่อนี้ แล้วคนอื่นจะมองเราอย่างไร หรือตัวตนของฉันในสายตาคนอื่นจะเป็นอย่างไร
"สายตาของคนอื่น" คือสไตลิสท์ตัวจริงที่คอยจับเราเหวี่ยงไปเหวี่ยงมาจนสูญเสียความเป็นตัวของ ตัวเอง คนบางคนทั้งชีวิตแบบไม่มีช่องว่างให้ความสุขได้เล็ดลอดเข้ามาในผืนแผ่นดินใจ เลย เพราะมัวแต่ใช้ชีวิตตามที่สังคมคาดหวัง เกรงว่าถ้าไม่แสดงตนอย่างที่คนทั่วไปเขาคาดหวัง "อัตลักษณ์" ของตัวเองจะหายไป หรือจะถูกลดความสำคัญลง
นี่ละคือความทุกข์ที่เกิดจากการบริโภคอัตลักษณ์ของคนร่วมสมัยทุกวันนี้
การ จะคลายทุกข์อย่างนี้ได้มีหลายวิธี แต่ในที่นี้ขอแนะนำว่า ควรหัดลดการให้ความสำคัญกับสายตาคนอื่นเสียบ้าง พูดให้สั้น ก็คือ ควรรู้จัก "ช่างมัน ฉันไม่แคร์" เป็นบางเวลา บางสถานการณ์ เรื่องบางเรื่องลองหัดเป็นตัวของตัวเองดูบ้างก็ได้ พระผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเขียนกวีนิพนธ์เรื่อง "ช่างมัน" เอาไว้ไพเราะมาก ขอคัดมาให้อ่านกันเป็นข้อคิดสะกิดใจ เผื่อว่างเมื่อไรจะได้อ่านแล้วฝึก "ช่างมัน" เสียให้ชินความทุกข์จากการที่ต้องแคร์สายตาคนอื่นจะได้บรรเทาเบาบางลง
ธรรมะนอกธรรมาสน์
มีสมภารวัดหนึ่งลึกซึ้งมาก
ถูกลมปากถากถางอย่างเสียหาย
ท่านไม่โต้ตอบคำทำวุ่นวาย
คิดอุบายผันผ่อนสอนใจตัว
เอาตาชั่งตั้งหราอยู่กุฎิ์
แล้วก็ขุดมันวางข้างละหัว
ใครมาเห็นออกปากทักกันนัว
ท่านเจ้าขรัว "ช่างมัน" เสียยันเต
.................................................................................................................
* แค่ มองโลกตามความเป็นจริง ... ไม่เอาใจไปจับสิ่งเหล่านั้น ความทุกข์ก็จะคลายลง ความสุขก็จะไม่ตัวตน ... ทุก ๆ วันนี้ มองรอบ ๆ ตัวเห็นมีแต่คนทุกข์ ยากดีมีจน ตำแหน่งสูงใหญ่ หรือต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ก็นั่งถอนหายใจกันทั้งนั้น
* เขาไม่รักเรา แต่เราจะทำเพื่อเขา ... เราก็ทุกข์
* เขาไม่ยอมรับในความเก่งกาจของเรา เอาแต่คอยรังแกเรา ... เราก็ทุกข์ เขาก็ทุกข์ (ไม่รู้ว่าวันนี้จะแกล้งอะไรดี)
* เขาได้เงินมากกว่าเรา เพระเขาทำงานหนักกว่าเรา แต่เราอยากได้เงินมากเหมือนเขา แต่เราไม่เคยทำงานหนักเท่าเขา หรือมากกว่า ... เราก็ทุกข์
* เมื่อเราไม่มั่นใจตัวเอง สอนหนังสือมี ๑๐ ปี เวลาไปร่วมงานกับใคร ก็ได้แต่ตอบว่า "ค่ะ" แล้วก้มหน้าทำบ้าง อู้บ้าง พัฒนาการของตัวเองก็ไม่เคย แต่พอมีค่าจ้างนิดหน่อย ก็รีบตะครุบ ทำตัวไม่สมกับเป็นครูบาอาจารย์ เวลาคบกับใคร ก็หวาดระแวงกลัวคนอื่นจะมาเอาเปรียบตัวเอง ทั้ง ๆ ที่ตัวเอง เอาเปรียบเพื่อนร่วมงานอยู่ตลอดเวลา ... แบบนี้หน้าทุกข์ ทุกข์เพราะหัวใจไม่บริสุทธิ์ของตัวเอง
* ยกตัวอย่างเท่าที่มอง เท่าที่เห็น มิได้มีเจตนาอะไร กับใคร .. จึงไม่ทุกข์ ปล่อยวาง ผ่านมาแล้วผ่านไป
* กรรมเป็นของที่ไม่มีใครมาสร้างให้เรา แต่เราเป็นสร้างกรรมเอง ขึ้นอยู่กับว่า ดี หรือ ชั่ว
* ท่าน ว.วชิรเมธี สอนให้เราอยู่กับ "ทุกข์" หรือ "สุข" ด้วยความเป็นกัลยาณมิตร และทางสายกลางซึ่งกันและกัน
บุญรักษา ทุกท่านในวันพระใหญ่ ;)
http://www.gotoknow.org/posts/273537
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น