คำคม

ปัญหามีไว้ให้หาปัญญา อุปสรรคมีไว้ให้ฝึกหาทางออก วันไหนที่มีความสุข วันนั้นอย่าทำความสุขในชีวิตหล่นหาย

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

"รู้อะไร" ไม่เท่า "รู้อย่างไร"

            ปัญญารู้เท่าทันชีวิตนั้น ทำให้เรามีความสามารถอยู่ได้ทุกแห่ง เจอได้ทุกสถานการณ์ แม้เรื่องที่ไม่ดี เรื่องที่คนอื่นเป็นทุกข์ หากเรามีปัญญาก็สามารถหาความสุขได้จากทุกข์นั้น มองเห็นคุณค่า และกลับรู้สึกว่า ความทุกข์นั้นมีประโยชน์ เช่น มองเห็นว่าความทุกข์เป็นครู ความทุกข์นั้นมีประโยชน์ เช่น มองเห็นว่าความทุกข์เป็นครู ความทุกข์เป็นสิ่งที่เราต้องสนใจ ความทุกข์ทำให้เราเข้มแข็งขึ้น ทำให้เรามีกัลยาณมิตร ทำให้เรามีศรัทธา นี่เรียกว่าเป็น ผู้มีปัญญา สามารถเปลี่ยนทุกข์ให้เป็นสุขได้

เปลี่ยน "สุข" เป็น "ทุกข์"
ส่วนคนเขลานั้น แม้ในยามสุข ก็เปลี่ยนสุขให้เป็นทุกข์ได้ เช่น ในยามที่มีความสุข ดันไปวิตกกังวลว่าความสุขมันจะหมดไป หรือในยามที่กำลังมีความรัก แทนที่จะชื่นชมกับความรัก กลับไประแวงว่าคนรักจะเปลี่ยนใจไปชอบคนอื่น หรือวันที่ยังมีกำลังวังชา แทนที่จะทำงานให้เต็มที่ แต่ดันไปวิตกกังวลว่าเราจะแก่ หรือจะทำงานไม่ไหว คิดหวั่นวิตกไปเรื่อย ทั้ง ๆ ที่เป็นเวลาที่ควรจะมีความสุข กลับไปทุกข์ล่วงหน้าเสียก่อน
แม้ความทุกข์นั้นจะผ่านพ้นไปแล้ว เช่น ฝนหยุดตกแล้ว แทนที่จะดีใจที่ฟ้าใส แดดสวย แต่กลับไปนั่งพร่ำบ่นกับถนนที่เปียกแฉะ ทุกข์กับสิ่งที่ผ่านไปแล้ว บางคนก็เสียดาย เสียใจ รู้สึกผิดกับสิ่งที่ผ่านไปแล้ว เช่น ขายหุ้นได้กำไรแทนที่จะมีความสุข แต่กลับเสียดายที่ตัวเองซื้อน้อยไป ถ้าซื้อมากกว่านี้อีกเท่าหนึ่ง คงได้กำไรอีกเท่าหนึ่ง กลายเป็นความทุกข์จากอำนาจของความโลภ หรือบางคนทำงานจนประสบความสำเร็จมา ควรจะมีความสุข แต่พอรู้เพื่อนได้ดีกว่า กลับเป็นทุกข์ อิจฉาริษยา ไม่ได้ชื่นชมสิ่งที่เราได้กลับมาเลย บางคนแทนที่จะเอาเวลาหรือสติปัญญาทำเรื่องที่ดี ๆ ก็กลับไปคิดเรื่องที่ไม่ดี ทำร้าย ทำลายคนอื่นจากความอิจฉาริษยา นี่แหละคือ ผู้ที่ไม่มีปัญญา ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่เว้นแม้เทวดา

เปลี่ยน "บุญ" เป็น "บาป"
ในพระไตรปิฎกเล่าไว้ว่า ท้าวสักกะเทวราช จอมสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่ออดีตชาตินั้นเคยเกิดเป็นมนุษย์ ชื่อ "มฆมานพ" อาศัยอยู่ในแคว้นมคธ โดยดำเนินชีวิตไปในทางบุญกุศลตลอดเวลา ต่อมาก็ชักชวนเพื่อน ๓๒ คน มาทำสาธารณประโยชน์ พัฒนาท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการขุดสระน้ำ ทำถนน ปลูกต้นไม้ ฯลฯ จนเป็นที่เลื่องลือไปถึงหูพระอินทร์ ก็เกิดความกังวล เนื่องจากพระอินทร์นั้น เป็นตำแหน่งของพระราชาแห่งเทพทั้งปวงในสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตำแหน่งนี้จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปตามผลแห่งบุญกรรมที่ได้กระทำไว้ พระอินทร์พระองค์ใดสิ้นบุญหรือหมดบุญที่ตนได้กระทำมา ก็จะมีองค์ใหม่ขึ้นมาแทนที่
ดังนั้น เมื่อเห็นมานพหนุ่มผู้นี้ทำความดีมากเข้า จึงเกรงว่าผลบุญจะส่งเขามาเป็นพระอินทร์แทนที่ตน จึงคิดหาทางขัดขวางงานของมานพหนุ่มไม่ให้ประสบความสำเร็จ แต่ยิ่งขัดขวางเท่าไหร่ อายุขัยของการเป็นพระอินทร์ของท่านก็ยิ่งลดน้อยลงเรื่อย ๆ จากความอิจฉาริษยาของตนเอง และในที่สุดผลบุญก็ส่งให้มฆมานพกลายเป็นพระอินทร์องค์เดิม

เปลี่ยน "คุณ" เป็น "โทษ"
นี่คือหนึ่งบทเรียนจากอำนาจความอิจฉาริษยา และการตั้งจิตตั้งใจไว้ไม่ถูก ทำให้เกิดทุกข์อย่างที่เล่ามานี้ ฉะนั้น เมื่อใดที่รู้ว่าจะมีคนมาแทนเรา เช่น ในที่ทำงาน เราก็ควรยินดี และสนับสนุน ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ เพื่อคนใหม่จะได้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูก แต่ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าทำมาเหนื่อยแทบตาย ใครก็ไม่รู้จะมาชุบมือเปิบ อุบไว้ดีกว่า ไม่ยอมบอก ให้มันลองผิดลองถูกเอง จะได้ไม่ประสบความสำเร็จเหมือนเรา
แทนที่จะชื่นชมยินดี มีมุทิตาจิตที่มีคนเก่ง หรือเก่งกว่าเรามาแทนตนกลับไม่รู้สึกยินดีเป็นสุข จิตใจก็เป็นกลายเป็นทุกข์ได้ ซึ่งคนที่คิดแบบนี้ก็ล้วนไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตทั้งนั้น

เหล่านี้ล้วนตอกย้ำว่า การที่เรา "รู้อะไร" ก็ตามนั้น ไม่สำคัญเท่า "รู้อย่างไร" เพราะรู้แล้วควรเกิดประโยชน์ทางบวก ไม่ใช่ทางลบ ยกตัวอย่างเรื่อง อริยสัจ ๔ หากเรารู้แล้วนำมาปฏิบัติให้รู้แจ้งเห็นจริง แน่นอนว่ามันก็สามารถใช้ดับทุกข์ได้ แต่หลายคนรู้เรื่องอริยสัจ ๔ เพียงเพื่อนำมาท่องอวดคนอื่น หรือข่มคนอื่น แต่ไม่ได้ตอบปัญหาชีวิตของตัวเอง ก็ไม่มีประโยชน์อะไร
ความรู้ไม่ได้มีไว้อวด บางคนถามอะไร รู้หมด แต่ดับทุกข์ไม่เป็น หรือดับทุกข์ไม่ได้ ทางพระพุทธศาสนาไม่ถือว่ารู้ พระพุทธเจ้าสอนให้เรามีความรู้ไว้ฝึกฝนตนเองให้พ้นทุกข์ ถ้าเรารู้แล้วนำไปใช้ไม่ถูก หรือนำไปใช้ไม่เป็น รู้เพื่ออวดหรือเพื่อข่มคนอื่น ความรู้นั้นก็ไม่เป็นประโยชน์ที่แท้จริง
ฉะนั้น คนรู้น้อย แต่นำไปฝึกฝนทำประโยชน์แก่ตนและคนอื่นได้ดีกว่าคนรู้มาก แต่ใช้ได้ไม่เป็น ก็เปล่าประโยชน์ นี่เองจึงทำให้ "รู้อย่างไร" จึงสำคัญกว่า "รู้อะไร"


.....................................................................................................................................


"รู้อย่างไร" สำคัญกว่า "รู้อะไร"

"ชีวิตไม่ได้มีไว้ให้ลองเล่น" ...


ชีวิตไม่ได้มีไว้ให้ลองเล่น


"การลองผิดลองถูก"
เป็นหลักคิดที่คนสนุกกับ ชีวิตชอบนำไปใช้
อยากทำอะไรก็ทำ...อยากคิดอะไรก็คิด
ถูกหรือผิด...ดี หรือไม่ดี
เอาไว้ว่ากันทีหลัง

ถ้ามองผ่าน ๆ
การลองผิดลองถูก
อาจดูเหมือนกล้าได้กล้าเสีย...กล้า ใช้ชีวิต
เจ๋งดี...เท่ดี...ลุยดี

แต่จริง ๆ แล้ว...ไม่ดีนักหรอก
หากเราลองผิดลองถูกโดยไม่มีสติ
ไม่ รู้เท่าทัน...ไม่รอบคอบ
รับประกันได้ว่า...
จะมีแต่ลองแล้วผิด
ไม่ มีทางลองแล้วถูก

ถึงแม้ว่าการลองผิดลองถูก
จะมีความจำเป็นอยู่ บ้าง
แต่ถึงอย่างไร...
ชีวิตเราก็ไม่ใช่เครื่องเซ่น
ที่มีไว้ สังเวยการทดลองสุ่มสี่สุ่มห้า

การลองผิดลองถูก...
อาจเหมาะสำหรับ บางเรื่อง
แต่ไม่ใช่สำหรับทุกเรื่อง
ก่อนที่เราจะลองอะไร
ก็ต้อง ตรองให้ถี่ถ้วนเสียก่อน
ว่าสมควรลองหรือไม่อย่างไร

บางเรื่องไม่ต้องลอง...ก็รู้อยู่แล้วว่าผิด
บางอย่างไม่ต้องทดสอบ...ก็เห็นอยู่แล้วว่าถูก
เราใช้วิจารณญาณตัดสินได้
ไม่ต้องเสียเวลา "ลองของ"
เพราะบางเรื่องถ้าลองแล้วผิด
ชีวิตอาจไม่ให้โอกาสเราลองใหม่อีกรอบ

ผลลัพธ์ ของการลองผิดลองถูก
ไม่ใช่แค่ออกหัวหรือก้อย...ผิดหรือถูก
แล้วนำไป ใช้ในชีวิตได้ทันที
แม้ว่าบางเรื่องลองแล้วถูก...
แต่ก็ไม่ได้แปลว่า ความถูกนั้น
จะมีประโยชน์อะไรมากมาย
บางทีอาจนำมาใช้อย่างจริงจังไม่ ได้

ชีวิตไม่ได้ต้องการการทดลองอะไรนักหนาหรอก
แค่เรามีสติและเข้าใจความ เป็นจริงให้มาก
เพียงเท่านี้เราก็เดินถูกทางได้
แต่หากว่าเราเข้าไม่ ถึงชีวิต
ชอบลองผิดลองถูกเรื่อยเปื่อย
เราอาจทำได้แค่เดิน...เดินไป ลองนั่นลองนี่
เดินสามก้าว...ถอยสิบก้าว
เดินกี่ปีก็ไม่ถึงเป้าหมาย สักที

การลองผิดลองถูกมีเงื่อนไขว่า...
เหมาะกับบางคนและบางกรณี
ไม่ ได้เหมาะสำหรับทุกคนทุกเรื่อง
ฉะนั้น...อย่าลองผิดลองถูกเพียงเพราะว่าใจ สั่งมา
อย่าลองชีวิตแบบเล่น ๆ ตามความรู้สึกที่ไม่เข้าท่า

ถ้าเราอยากลองผิดลองถูก
ก็ต้องรู้จักเลือกลอง...ลองให้เป็น
ไม่ใช่ลองผิดลองถูกมาตลอดชีวิต
แต่ไม่เคยทำอะไรถูก
และหาคำตอบไม่ได้ว่าอะไรผิดอะไรถูก

 

"ส่วนหนึ่งของชีวิต" ... (heart : นิ้วกลม)

ในชีวิต
มีบางคนที่เราเคยมีความรู้สึกมากมาก
เมื่อเวลาผ่านไป ความรู้สึกก็ค่อยค่อยจางลง
จนเราลืมไปด้วยซ้ำว่าเคยรู้สึกกับเขามากมาย ขนาดนั้น

เสียดายเมื่อทำสิ่งสำคัญหล่นหาย
แต่ที่น่าเสียดายกว่านั้นคือ
เมื่อ เวลาผ่านไป
สิ่งที่เคยสำคัญกลับมิได้สำัคัญเช่นเคย

ดูคล้ายชีวิตเป็นการเดินทาง
ที่เต็มไปด้วยความสูญเสียและสูญหาย

แต่หากลองคิดดูดีดี
คนคนนั้นไม่ได้หายไปไหน
เขายังอยู่กับเราเสมอ
สิ่ง ทีเ่กิดขึ้นระหว่างที่ใช้เวลาด้วยกันทำให้เราเป็นเราในวันนี้
ตัวเราใน วันนี้คือผลลัพธ์จากการพบปะผู้คนของเมื่อวาน

ถ้าวันนั้นเราไม่ได้เจอกัน
วันนี้เราคงไม่เป็นอย่างที่เป็นอยู่
ไม่ ว่าดีหรือร้าย
คนคนนั้นได้กลายเป็่นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว
การเจอกันของใครบางคน ย่อมไม่ใช่เหตุบังเอิญ
มี ที่มาที่ไป ซึ่งเราอาจจะยังหาคำตอบไม่พบ

แต่อย่างน้อย เมื่อเขามาแล้วผ่านไป
ชีวิต เราย่อมไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

ุคุณ คือ ส่วนหนึ่งของชีวิต นะ

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คิดอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น

จิตของเรานี้มีพลัง คิดอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ใจเป็นประธาน ใจเป็นหัวหน้า แต่พวกเรามักไม่ค่อยให้ความสำคัญกับจิตใจของตัวเองเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่เราทุกคนอยากจะมีีความสุข แต่จิตใจของตนกลับปล่อยให้คิดฟุ้งซ่านไปตามกิเลสตัณหา ซึ่งเป็นการสร้างทุกข์เพิ่มขึ้น ๆ เช่น อยากจะรวย อยากจะมีแฟน อยากจะได้ยศ ตำแหน่ง

ความอยากจะมี แสดงถึง ความไม่ีมี
ความอยากจะรวย แสดงว่า จน


เท่ากับเราไม่มีความพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ของตัวเอง ความคิดอยาก ๆ เป็นกิเลสตัณหาซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
ในทางตรงกันข้าม หากจิตใจเรามีความสันโดษ มีความพอใจในสิ่งที่เรามี เราก็จะมีความสุขได้ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม คำสอนให้รู้จักสันโดษนี้ ไม่ได้สอนให้คนเกียจคร้านในการทำหน้าที่การงาน ทำให้ชีวิตไม่เจริญก้าวหน้า พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องสันโดษเพื่อให้เรารู้จักพอใจกับสิ่งที่ตนมีอยู่ สิ่งที่ตนได้มา แต่ในการดำเนินชีวิตพระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรามีอิทธิบาท ๔ ซึ่งหมายถึง ทางแห่งความสำเร็จในกิจอันเป็นกุศล มี ๔ ประการคือ

๑. ฉันทะ มีความพอใจในสิ่งที่ทำ
๒. วิริยะ ความเพียรพยายามตั้งใจทำสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ จิตใจจดจ่อกับสิ่งที่ทำอยู่
๔. วิมังสา ใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ หาเหตุผล เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

ดังนั้น เมื่ออยากจะประสบความสำเร็จในสิ่งใด ก็ให้ตั้งเป้าหมายไว้ตามสมควรแก่ฐานะ ให้จิตใจตั้งมั่นไว้ที่ผลสำเร็จ และปฏิบัติตามหลักอิทธิบาท ๔ แต่ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร เราก็มีความสุขอยู่ได้ในปัจจุบัน

เมื่อมีจิตใจดี มีความสบายใจแล้ว
โอกาสที่ชีวิตจะประสบความสำเร็จ
ในสิ่งที่ปรารถนาก็มีมากขึ้น

แม้จะรับประกันไม่ได้ เพราะตามธรรมชาติของวัฏสงสารก็ไม่แน่นอน ไม่มีใครรอดพ้นไปจากความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ได้ แต่ในแ่ง่จิตใจเราก็ไม่ต้องทุกข์ร้อนอะไร หากไม่ได้ในสิ่งที่ปรารถนา ก็ให้เข้าใจว่า

เมื่อเราตั้งใจทำดีที่สุดด้วยใจที่สงบ
เราได้ทำเหตุที่ดีแล้ว
ก็ต้องยอมรับผลด้วยใจที่สงบเหมือนกัน

เรื่องสุขภาพร่างกายของเราก็เหมือนกัน ถึงแม้เราสุขภาพไม่ดี กำลังป่วยอยู่ก็ตาม แต่ถ้าเราคิดกังวลอยู่ตลอดเวลา เราไม่สบาย ๆ เมื่อจิตใจคิดวนเวียนอยู่อย่างนี้ ความคิดในแง่ลบของเราก็มีอิทธิพลทำให้สุขภาพกายแย่ลง

ในทางตรงกันข้าม ให้เราคิดในแง่บวก เช่น สมมติว่าเป็นโรคหัวใจ ก็ให้กำหนดจิตเพ่งไปที่หัวใจ หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ หายใจสบาย ๆ ส่งกระแสความรู้สึกที่ดี แผ่เมตตาไปที่ "หัวใจ" จินตนาการ ในทางบวกว่า หายแล้ว ทำอย่างนี้บ่อย ๆ ทุก ๆ วัน ในส่วนของการรักษาทางกาย ก็กินยา ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ตามปกติ ปฏิบัติตามนี้แล้วสุขภาพจิตก็จะดีขึ้น มีกำลังใจ โอกาสที่สุขภาพกายจะดีขึ้นก็มีมาก
ขอขอบคุณ http://www.gotoknow.org/posts/532353

นิทาน "ตำนานขนม ค-ร-ก"(คน-รัก-กัน)






ไอ้กะทิ หนุ่มน้อยแห่งดงมะพร้าวเตี้ย  แอบมีความรักกับ หนูแป้ง สาวสวยประจำหมู่บ้านซึ่งเป็นลูกสาวคนเดียวของผู้ใหญ่บ้าน  ทั้งคู่เจอกันวันลอยกระทง  และสัญญากันต่อหน้าพระจันทร์ ไม่ว่าข้างหน้าแม้จะมีอุปสรรคขวางกั้นเพียงใด ทั้งคู่ก็จะขอยึดมั่นความรักแท้ที่มีต่อกันชั่วฟ้าดินสลาย
ไอ้กะทิ ก้มหน้าก้มตาเก็บหอมรอมริบหาเงินเพื่อมาสู่ขอลูกสาวจากผู้ใหญ่บ้าน แต่กลับถูกปฏิเสธแถมยังโดนผู้ใหญ่ส่งชายฉกรรจ์พร้อมอาวุธครบมือมาลอบทำร้าย  แต่ไอ้กะทิก็ไม่ว่ากระไร  มันพาร่างอันสะบักสะบอมกลับไปบ้าน นอนหยอดน้ำข้าวต้มซะหลายวัน  แต่ใจยังตั้งมั่นว่า วันหน้าจะมาสู่ขอหนูแป้งใหม่จนกว่าผู้ใหญ่จะใจอ่อน 
แต่แล้วความฝันของไอ้กะทิ ก็พังพินาศเมื่อผู้ใหญ่ยก หนูแป้ง ลูกสาวคนสวยให้แต่งงานกับปลัดหนุ่มจากบางกอก  ไอ้กะทิ รู้ข่าวจึงรีบกระเสือกกระสนหมายจะมายับยั้งการแต่งงานครั้งนี้   ซึ่งผู้ใหญ่บ้านก็วางแผนป้องกันไว้แล้ว  โดยขุดหลุมพรางดักรอไว้ แต่แม่แป้งแอบได้ยินแผนร้ายเสียก่อน จึงลอบหนีออกมาหมายจะห้ามหนุ่มคนรักไม่ให้ตกหลุมพราง 
คืนนั้นเป็นคืนเดือนแรม หนูแป้งวิ่งฝ่าความมืดออกมาเพื่อดักหน้าไอ้กะทิ   ไอ้กะทิเห็นหนูแป้งวิ่งมาก็ดีใจทั้งคู่รีบวิ่งเข้าหากัน  ฉับพลัน!!...ร่างของหนูแป้งก็ร่วงหล่นลงไปในหลุมพรางของผู้ใหญ่ฯผู้เป็นพ่อ  ต่อหน้าต่อตาไอ้กะทิ  อารามตกใจนายกะทิก็รีบกระโดดตามลงไปเพื่อช่วยเหลือหนูแป้ง  อารามดีใจสมุนชายฉกรรจ์ของผู้ใหญ่บ้านซึ่งแอบซุ่มอยู่   ก็รีบเข้ามาโกยดินฝังกลบหลุมที่ทั้งคู่หล่นลงไป  เพราะคิดว่าในหลุมมีเพียงไอ้กะทิผู้เดียว ... 
รุ่งเช้าผู้ใหญ่บ้านสั่งให้ขุดหลุมเพื่อดูผลงาน  แทบไม่เชื่อสายตาเบื้องล่างปรากฏร่างของ ไอ้กะทิตระกองกอดทับร่างหนูแป้งลูกสาวของตน  ทั้งสองนอนตายคู่กันอย่างมีความสุข  เมื่อรอยยิ้มถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตา  ผู้ใหญ่บ้านรำพึงต่อหน้าศพของลูกสาวว่า..
"พ่อไม่น่าคิดทำลายความรักของลูกเลย"
ตั้งแต่นั้นมาอนุสรณ์แห่งความรักที่กระทำสืบทอดกันมาจนเป็นประเพณี ทุกแรม ๖ ค่ำ เดือน ๖ ชาวบ้านที่ศรัทธาในความรักของไอ้กะทิ กับ แม่แป้ง ก็จะตื่นตั้งแต่เช้ามืด เข้าครัวเพื่อทำขนมที่หอมหวานปรุงจากแป้ง และกะทิ บรรจงหยอดลงหลุม  พอสุกได้ที่ก็แคะจากหลุม แล้วนำมาวางคว่ำหน้าซ้อนกันเป็นสัญลักษณ์ว่า "จะได้อยู่ร่วมกันตลอดไป"  ขนมนี้จึงถูกเรียกขานกันในนาม "ขนมแห่งความรัก" หรือ ขนม คน-รัก-กัน ต่อมาถูกเรียกย่อ ๆ ว่า 'ขนม ค-ร-ก' นั่นเอง



ขนม ค ร ก จึงเป็นขนมที่คนนิยมกินกันจนทุกวันนี้
ดัดแปลงและเรียบเรียงจาก... (นว.สส.)
http://www.everykid.com/nitan2/thelover/

วิกฤติคือโอกาสทอง

ณ กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีชาวนาคนหนึ่ง
เลี้ยงลาไว้ตัวหนึ่งซึ่งแก่มากแล้ว
ด้วยความโง่ของมันดันเดินซุ่มซ่าม
ไปตกบ่แห่งหนึ่ง มันร้องครวญคราง
อยู่เป็นเวลานาน ชาวนาเอง
ก็พยายามใคร่ครวญ
หาวิธีที่จะช่วยมันขึ้นมา

ในที่สุดชาวนาหวนคิดขึ้นมาได้ว่า
เจ้าลาก็แก่เกินไปแล้ว อีกอย่าง
บ่อนี้ก็ต้องกลบไม่คุ้มที่จะช่วยเจ้าลา
ชาวนาจึงไปขอแรงชาวบ้าน
เพื่อมาช่วยกลบบ่อ ทุกคนใช้พลั่ว
ตักดินสาดลงไปในบ่อ ครั้งแรก
เมื่อดินถูกหลังลา มันตกใจ
และรู้ชะตากรรมของตนเองทันที
มันร้องโหยหวน สักพักหนึ่ง
ทุกคนก็แปลกใจที่เจ้าลาเงียบไป



หลังจากชาวนาตักดินใส่บ่อได้สักสองสาม
พลั่ว เมื่อเหลือบมองลงไปในบ่อ ก็พบกับ
ความประหลาดใจที่ลามันจะสะบัดดินออกจาก
หลังทุกครั้งที่มีผู้สาดดินลงไป แล้วก้าวขึ้นไป
เหยียบบนดินเหล่านั้น
ยิ่งทุกคน พยายามเร่งระดม
สาดดินลงไปมากเท่าไร
มันก็ก้าวขึ้นมาเร็วได้มากยิ่งขึ้น
ในไม่ช้าทุกคนต่างประหลาดใจในที่สุด
เจ้าลาสามารถหลุดพ้นจากปากบ่อดังกล่าวได้

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
ชีวิตนี้อุปสรรคต่างๆ ที่ถาโถม
เข้ามาหาเราก็เปรียบเหมือน
ดินที่สาดเข้ามาหาเรา จงอย่า
ท้อถอยและยอมแพ้ จงแก้ไขมัน
เพื่อที่จะก้าวสูงขึ้นเรื่อยๆ
เปรียบเหมือนลาแก่ที่หลุดพ้น
จากบ่อได้ ฉันใดฉันนั้น

อุปสรรคมีไว้ให้ก้าวข้ามไป



ชีวิตคนเราก็เช่นกัน
เราก็ต้องประสบกับโลกธรรมแปดเป็นธรรมดา
คือ ได้ลาภ ได้ยศ สรรเสริญ สุข
ก็ต้องมีเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์
แต่เมื่อเรามีทุกข์ มีปัญหา
หรือต้องประสบกับวิกฤติหนักหนาสาหัสแค่ไหน
ก็ให้อาศัยขันติ มีความอดทน

เมื่อมีความทุกข์ หยุดทำ หยุดพูด หยุดคิด
ตั้งสติใช้ปัญญา อาศัยอดทน อดกลั้น
หยุดทุกสิ่งทุกอย่างไว้ก่อน
ไม่ต้องคิดที่จะแก้ปัญหาภายนอก




กำหนดรู้ลมหายใจออกยาวๆ ลมหายใจเข้าลึกๆ
ให้มีสติ มีความรู้สึกตัวกับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
ติดต่อกัน ต่อเนื่องกัน มีสมาธิตั้งมั่นกับลมหายใจ
ปล่อยวางความรู้สึกที่ไม่ดี ปล่อยวางจิตใจให้ว่างๆ
ว่างจากอดีต ว่างจากอนาคต ว่างจากความไม่สบายใจ
เหลือแต่จิตที่มีแต่ความรู้สึกตัว เบิกบานใจ
โอปนยิโก น้อมเข้าไปหาธรรมชาติของจิตที่เป็นประภัสสร
บริสุทธิ์ผ่องใส เมื่อจิตสงบสบายแล้ว
จึงค่อยๆ คิดแก้ปัญหาด้วยสติปัญญา เมื่อจิตใจดี
สบายใจทุกอย่างแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะค่อยๆ ดีขึ้น
ให้มีความหวัง กำลังใจที่จะต่อสู้



ทุกข์ที่สุดอยู่ที่ไหน
ขุมทรัพย์ก็มีอยู่ที่นั่น

ทุกข์ที่สุดอยู่ที่ไหน
สุขที่สุดมันก็อยู่ที่นั่น
นี่เป็นความจริง

ไม่ว่าจะมีวิกฤติ
หรือเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นกับเรา
สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตคือรักษาใจของเราให้ดี
ให้มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
เป็นคุณธรรมประจำใจของเรา

ตั้งใจทำความดี
รักษาคุณงามความดี ความถูกต้อง
ด้วยจิตใจที่หนักแน่น
ไม่หวั่นไหวในทุกสถานการณ์
ให้ชีวิตทั้งหมดอยู่ด้วยอานาปานสติ
คือทำหน้าที่ปัจจุบันให้ดีที่สุด
ด้วยใจดี สุขใจ






คัดลอกบางตอนมาจาก
หนังสือ...มีขันติ คือ ให้พรแก่ตัวเอง
โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

วิธีอยู่กับ "ทุกข์" ให้เป็น "สุข" ... (ท่าน ว.วชิรเมธี)

นักปรัชญาตะวันตกหลายคนเมื่อหันมาศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างผิวเผิน ก็มักจะด่วนสรุปว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนให้มองโลกในแง่ร้าย อาร์เทอร์ โชเพนเฮาเออร์ นับเป็นหนึ่งในปรัชญาตะวันตกที่มีความเชื่อเช่นนี้ เขาจึงสรุปว่า "ชีวิตไม่มีอะไรมากหรอก นอกจากเป็นเพียงลุกตุ้มที่แกว่งไปมาระหว่างความทุกข์กับความเบื่อหน่าย" โช เพนเฮาเออร์ไม่ได้เชื่ออย่างนี้คนเดียว เขาทำให้คนอีกมากมายในโลกนี้เชื่อตามเขาไปด้วย พระพุทธศาสนาเลยพานถูกเหมารวมให้เป็นศาสนาที่สอนให้มองโลกในแง่ร้ายไปโดย ปริยาย
แท้ที่จริงแล้วพระพุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนาที่สอนให้มองโลกในแง่ดี (Optimism) หรือ มองโลกในแง่ร้าย (Pessimism) แต่พระพุทธศาสนาสอนให้มองโลกตามความเป็นจริง (Realism) นั่นคือ มองโลกอย่างที่โลกมันเป็น ไม่ใช่อย่างที่เราอยากให้เป็น
"ความทุกข์" เป็นความจริงอย่างหนึ่งที่มีอยู่คู่กับโลก แต่ "ความสุข" ก็เป็นความจริงอีกอย่างหนึ่งที่เคียงคู่มากับความทุกข์ด้วยเช่นกัน และโลกก็ไม่ได้มีเพียงความสุขความทุกข์สองอย่างนี้เท่านั้น ทว่าโลกนี้ยังมีภาวะที่เรียกว่า "เหนือสุขเหนือทุกข์" อยู่อีกด้วย
คน ที่มองโลกตามความเป็นจริง ยามมีความทุกข์จึงไม่ท้อ และยามมีความสุขจึงไม่หลงติดในความสุขจนเกินพอดี เพราะเขาย่อมเข้าใจเป็นอย่างดีว่า ยังมีภาวะที่ประเสริฐกว่าความสุขอยู่อีก นั่นคือ การอยู่เหนือทั้งสุขทั้งทุกข์ตลอดกาล
อย่าง ไรก็ตาม แม้โลกจะมีสุขและทุกข์ปกกันไป แต่ดูเหมือนว่าช่วงเวลาแห่งความสุขของคนเรานั้นมักจะแสนสั้นเสียเหลือเกิน วันหนึ่ง ๆ ชีวิตช่างคลุกคลีตีโมงอยู่กับเรื่องราวที่ทำให้ทุกข์ตั้งร้อยแปดพันเก้าไม่ รู้จบสิ้น ทำอย่างไรดีนะเราจึงจะออกมาจากความทุกข์ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หรือถึงไม่ออกมาอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ก็ขอแต่เพียงอยู่กับความทุกข์อย่างเป็นมิตรก็พอแล้ว

เรามาลองเรียนรู้วิธีอยู่กับความทุกข์ให้เป็นสุขกันดีกว่า

๑. อยู่กับความจริง ทิ้งความกังวล ความ ทุกข์หลายอย่างในชีวิตของเรา ถ้าว่ากันตามเนื้อผ้าแล้วสัดส่วนของความทุกข์จริง ๆ จะมีไม่มาก แต่บางครั้งที่รู้สึกทุกข์มาก ๆ เป็นเพราะว่าเราสร้างภาพความทุกข์นั้นให้ใหญ่โตเกินจริง เช่น ใครบางคนพอรู้ว่าจะไปสอบสัมภาษณ์วันพรุ่งนี้ คืนนั้นทั้งคืนนอนไม่หลับ คิดโน่นคิดนี่วุ่นวายไปหมด กลัวว่าจะสอบสัมภาษณ์ไม่ผ่าน กลัวว่าจะตอบคำถามไม่ได้ กลัวว่าเสื้อผ้าที่สวมใส่จะดูไม่ดี กลัวว่าหน้าจะไม่ใส กลัวว่าความรู้ความสามารถของตัวเองจะไม่สอดคล้องกับที่บริษัทนั้น ๆ ต้องการ กลัวว่ารถจะติดแล้วไปสาย หรือสุดท้ายกลัวว่าถ้าไปสอบสัมภาษณ์ไม่ผ่าน คนที่บ้าน เพื่อน พ่อแม่ จะปรามาสว่า เอาดีไม่ได้
เรา กลัวไปสารพัด อย่าง ทั้ง ๆ ที่ในสถานการณ์จริง สิ่งที่เรากลัวมาตั้งสิบอย่างนั้นอาจเกิดขึ้นจริงเพียงอย่างเดียงเท่านั้น แต่กว่าจะรู้เช่นนี้ได้ เราก็ปล่อยให้ความทุกข์ที่เรากังวลนั้นทำร้ายเรามาแล้วทั้งคืน
นี่แหละคือความทุกข์ที่เกิดจากการสร้างภาพของเราเอง
ความทุกข์อย่างนี้เรียกว่า ทุกข์เพราะอุปทาน
หรือทุกข์เพราะฉันสร้างมันขึ้นมาเองจากความกังวล
ทุกข์อย่างนี้ บางทีร้ายกว่าตัวความทุกข์จริง ๆ ที่เรากำลังเผชิญอยู่ด้วยซ้ำไป
ดัง นั้น หากเรากำลังทุกข์ด้วยเรื่องใด ลองถามตัวเองดูซิว่า สิ่งที่กังวลอยู่นั้นมันน่ากลัวจริง ๆ หรือว่าเป็นเพียงสิ่งที่เราสร้างมันขึ้นมากันแน่ ลองแยกทุกข์แท้ ๆ ออกจากความกังวลให้ได้ แล้วจะเห็นว่า ทุกข์แท้ ๆ ที่ควรทุกข์มีอยู่นิดเดียวเอง


๒. ฝึก "ช่างมัน" ให้เคยชิน วิธี คลายทุกข์ประการที่สองนี้ก็ลองสืบเนื่องมาจากตัวอย่างข้างต้น เราจะเห็นว่า การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมทุกวันนี้ สิ่งที่คนเราแคร์มากที่สุด นอกจากเรื่องราวของตัวเองแล้ว ก็คือ "สังคม" หรือ "สายตาของคนอื่น"
"สายตาของคนอื่น" นั้นมีอิทธิพลต่อความทุกข์ความสุขในชีวิตของคนเรามาก เราจะเป็นอย่างไร จะใช้ชีวิตอย่างไร ความจริงก็น่าจะเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเราเองล้วนๆ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง เรามักไม่เชื่อมั่นในวิจารณญาณของตัวเอง เรามักคิดเสมอว่า เมื่อเราเป็นอย่างนี้ พูดอย่างนี้ ทำอย่างนี้ เดินอย่างนี้ ใช้ชีวิตอย่างนี้ คบเพื่อนคนนี้ ใช้โทรศัพท์รุ่นหรือยี่ห้อนี้ ชอบนักดนตรีคนนี้ ใช้เครื่องสำอางยี่ห้อนี้ หรือแม้กระทั่งอ่านนิตยสารชื่อนี้ แล้วคนอื่นจะมองเราอย่างไร หรือตัวตนของฉันในสายตาคนอื่นจะเป็นอย่างไร
"สายตาของคนอื่น" คือสไตลิสท์ตัวจริงที่คอยจับเราเหวี่ยงไปเหวี่ยงมาจนสูญเสียความเป็นตัวของ ตัวเอง คนบางคนทั้งชีวิตแบบไม่มีช่องว่างให้ความสุขได้เล็ดลอดเข้ามาในผืนแผ่นดินใจ เลย เพราะมัวแต่ใช้ชีวิตตามที่สังคมคาดหวัง เกรงว่าถ้าไม่แสดงตนอย่างที่คนทั่วไปเขาคาดหวัง "อัตลักษณ์" ของตัวเองจะหายไป หรือจะถูกลดความสำคัญลง
นี่ละคือความทุกข์ที่เกิดจากการบริโภคอัตลักษณ์ของคนร่วมสมัยทุกวันนี้
การ จะคลายทุกข์อย่างนี้ได้มีหลายวิธี แต่ในที่นี้ขอแนะนำว่า ควรหัดลดการให้ความสำคัญกับสายตาคนอื่นเสียบ้าง พูดให้สั้น ก็คือ ควรรู้จัก "ช่างมัน ฉันไม่แคร์" เป็นบางเวลา บางสถานการณ์ เรื่องบางเรื่องลองหัดเป็นตัวของตัวเองดูบ้างก็ได้ พระผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเขียนกวีนิพนธ์เรื่อง "ช่างมัน" เอาไว้ไพเราะมาก ขอคัดมาให้อ่านกันเป็นข้อคิดสะกิดใจ เผื่อว่างเมื่อไรจะได้อ่านแล้วฝึก "ช่างมัน" เสียให้ชินความทุกข์จากการที่ต้องแคร์สายตาคนอื่นจะได้บรรเทาเบาบางลง

ธรรมะนอกธรรมาสน์
มีสมภารวัดหนึ่งลึกซึ้งมาก
ถูกลมปากถากถางอย่างเสียหาย
ท่านไม่โต้ตอบคำทำวุ่นวาย
คิดอุบายผันผ่อนสอนใจตัว

เอาตาชั่งตั้งหราอยู่กุฎิ์
แล้วก็ขุดมันวางข้างละหัว
ใครมาเห็นออกปากทักกันนัว
ท่านเจ้าขรัว "ช่างมัน" เสียยันเต

.................................................................................................................

* แค่ มองโลกตามความเป็นจริง ... ไม่เอาใจไปจับสิ่งเหล่านั้น ความทุกข์ก็จะคลายลง ความสุขก็จะไม่ตัวตน ... ทุก ๆ วันนี้ มองรอบ ๆ ตัวเห็นมีแต่คนทุกข์ ยากดีมีจน ตำแหน่งสูงใหญ่ หรือต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ก็นั่งถอนหายใจกันทั้งนั้น
* เขาไม่รักเรา แต่เราจะทำเพื่อเขา ... เราก็ทุกข์
* เขาไม่ยอมรับในความเก่งกาจของเรา เอาแต่คอยรังแกเรา ... เราก็ทุกข์ เขาก็ทุกข์ (ไม่รู้ว่าวันนี้จะแกล้งอะไรดี)
* เขาได้เงินมากกว่าเรา เพระเขาทำงานหนักกว่าเรา แต่เราอยากได้เงินมากเหมือนเขา แต่เราไม่เคยทำงานหนักเท่าเขา หรือมากกว่า ... เราก็ทุกข์
* เมื่อเราไม่มั่นใจตัวเอง สอนหนังสือมี ๑๐ ปี เวลาไปร่วมงานกับใคร ก็ได้แต่ตอบว่า "ค่ะ" แล้วก้มหน้าทำบ้าง อู้บ้าง พัฒนาการของตัวเองก็ไม่เคย แต่พอมีค่าจ้างนิดหน่อย ก็รีบตะครุบ ทำตัวไม่สมกับเป็นครูบาอาจารย์ เวลาคบกับใคร ก็หวาดระแวงกลัวคนอื่นจะมาเอาเปรียบตัวเอง ทั้ง ๆ ที่ตัวเอง เอาเปรียบเพื่อนร่วมงานอยู่ตลอดเวลา ... แบบนี้หน้าทุกข์ ทุกข์เพราะหัวใจไม่บริสุทธิ์ของตัวเอง
* ยกตัวอย่างเท่าที่มอง เท่าที่เห็น มิได้มีเจตนาอะไร กับใคร .. จึงไม่ทุกข์ ปล่อยวาง ผ่านมาแล้วผ่านไป
* กรรมเป็นของที่ไม่มีใครมาสร้างให้เรา แต่เราเป็นสร้างกรรมเอง ขึ้นอยู่กับว่า ดี หรือ ชั่ว
* ท่าน ว.วชิรเมธี สอนให้เราอยู่กับ "ทุกข์" หรือ "สุข" ด้วยความเป็นกัลยาณมิตร และทางสายกลางซึ่งกันและกัน
บุญรักษา ทุกท่านในวันพระใหญ่ ;)
http://www.gotoknow.org/posts/273537

"ง่ายแต่งาม"




"....
ความสุขนั้นเป็นเรื่องง่าย เพราะอยู่ใกล้ตัวเราอีกทั้งยังมีีอยู่กับเราแล้วทุกขณะ เราเองต่างหากที่ทำให้ความสุขเป็นเรื่องยาก เพราะมัวแต่ใช้ชีวิตอย่างซับซ้อนตั้งแต่การกิน การแต่งกาย การพักผ่อน การคบเพื่อน ไปจนถึงการนอน เราทำให้ชีวิตพะรุงพะรังไปด้วยวัตถุสิ่งเสพ รุ่มร่ามด้วยเกียรติยศและพูนพอกด้วยพิธีรีตอง ทั้ง ๆ ที่่ความเรียบง่าย สามารถให้ความสุขสงบเย็นแก่เราได้ แต่เรากลับมองข้าไป
ความสุขยังแยกไม่ออกจากความงดงาม คนเราไม่ได้มีความสุขเพียงเพราะอยู่ท่ามกลางทิวทัศน์ที่งดงามเท่านั้น ที่สำคัญกว่านั้นคือ การมีจิตใจที่งดงาม เอื้ออาทรต่อผู้อื่น ชีวิตที่อุิทิศตนเพื่อผู้อื่นนั้น เป็นความงดงามที่นำความสุขอย่างลึกซึ้งมาให้แก่ตนเองนี้เป็นบ่อเกิดแห่งความ สุขอีกประการหนึ่งที่ถูกละเลยไป
ชีวิตเรียบง่ายนั้นมักเป็นชีวิตที่งดงามเพราะนึกถึงตนเองน้อย แต่คำนึงถึงผู้อื่นมาก เป็นชีวิตเปี่ยมด้วยน้ำใจ ปรารถนาดี
ต่อ ผู้อื่นอยู่เสมอ รางวัลแห่งความง่ายและงาม ก็คือ ความสุข ที่ไม่ว่าจะรวยหรือจน ชายหรือหญิง หนุ่มหรือแก่ ก็สามารถสัมผัสได้ เพราะเป็นความสุขที่สากล
..."

คำปรารภจากหนังสือ "ง่ายแต่งาม"
พระไพศาล วิสาโล
๒๓ เมษายน ๒๕๕๖
http://www.gotoknow.org/posts/540189

วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

"สุขได้ ง่ายจัง" ...

(คำปรารภจากพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล)

ความสุขนั้นพร้อมจะตามเราไปทุกที่
ไม่ว่าฝนตก แดดออกอยู่บนท้องถนน
หรืออยู่ตามลำพังผู้เดียว

แต่บ่อยครั้งที่เรารู้สึกกระสับกระส่ายกระวนกระวาย
ก็เพราะเรามองไม่เห็นความสุข
หรือไม่ก็ปิดใจไม่ให้สัมผัสกับความสุข

เวลาเรามีสุขภาพดี กินอิ่ม นอนอุ่น
เรามักไม่ตระหนักว่านั่นแหละคือความสุขแล้ว
จนกว่าจะล้มป่วยหรือหิวโหยนอนไม่หลับ

เวลาพ่อแม่ลูกหลานอยู่กับเรา
เรามักไม่รู้สึกว่านั่นแหละ คือ ช่วงเวลาอันวิเศษของชีวิต
ต่อเมื่อคนรักได้จากไปจึงได้รู้ว่า
เราได้ปล่อยโอกาสทองให้ผ่านเลยไปอย่างไม่เห็นคุณค่า


เพียงแค่รู้จักชื่นชมสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่กับตัวและรอบตัว
เราก็จะเป็นสุขได้ไม่ยาก เพียงแค่เปิดใจรับรู้อยู่กับปัจจุบัน

ความสุขก็จะมานั่งในหัวใจเรา และหากวางใจเป็น
แม้ต้องสูญเสียทรัพย์ พลัดพรากจากคนรัก หรือล้มป่วย

ใจก็ยังเป็นสุขได้ เพราะอะไรเกิดขึ้นกับเรา
ไม่สำคัญเท่ากับว่าเรารู้สึกหรือมองมันอย่างไร

ยิ่งมีสติรู้เท่าทันความรู้สึกนึกคิด
และมีปัญญาเข้าใจความจริงของชีวิต
ก็จะปล่อยวางความทุกข์ได้เร็ว
ไม่เก็บเอาสิ่งร้าย ๆ มาทิ่มแทงใจ

อีกทั้งไม่ปล่อยให้ความยึดมั่นสำคัญ
หมายว่า "ตัวกูของกู" มาบีบคั้นจิต

อยู่ตรงนี้ เดี๋ยวนี้ก็สุขได้
ความสุขหาได้ไม่ยากหากวางใจเป็น
แต่จะวางใจเป็นก็ต้องฝึกฝนบ่มเพาะจนชำนาญ

อ่านหนังสือเล่มนี้อย่างเดียว
คงไม่ช่วยให้หายทุกข์ได้ทันที
แต่หากนำสาระที่ได้อ่านไปลองปฏิบัติ
ก็จะพบได้ในที่สุดว่า

สุขได้ไม่ใช่เรื่องยาก 
"ความสุขอยู่รอบตัว เพียงแค่ใจมองเห็น"

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สร้างกำลัง (ใจ)


เวลา ผ่านไปแล้วไปลับ ไม่สามารถย้อนกลับได้อีกเมื่อเวลายังคงเดินไปข้างหน้า ชีวิตของคนเราก็ย่อมต้องเดินไปข้างหน้าด้วยเช่นกันคนเรามีชีวิตอยู่เพื่อก้าวเดินไปยังจุดหมายปลายทางตามเส้นทางแห่งฝันของแต่ ละคน ซึ่งท่ามกลางการเดินทางก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคและโอกาสนานาประการ ไม่ว่า ชีวิตจะต้องเจอกับอะไร สิ่งสำคัญคือชีวิตของทุกคนต้องก้าวเดินต่อไปชีวิตยังไม่หมดลมหายใจก็ต้องดิ้นรนกันต่อไป

การที่คนเราจะประสบความสำเร็จในการกระทำใดๆ ปัจจัยสำคัญประการ หนึ่งที่คนเราต้องมีก็คือ กำลังใจ คนเราต้องมีสภาพจิตใจที่มีความเชื่อมั่นและกระตือรือร้น พร้อมที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ แม้ว่ากำลังใจจะเป็นสิ่งที่มอง ไม่เห็น แต่เป็นเรื่องของจิตใจที่ทุกคนสัมผัสได้ถึงพลังมหาศาล และ กำลังใจสามารถเอาชนะปัญหาอุปสรรคทุกสิ่งทุกอย่างได้ ทำให้คนเราสามารถยืนหยัด และก้าวเดินต่อไปข้างหน้าด้วยกำลังใจเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงจิตใจให้มีความมุ มานะ เข้มแข็ง เผชิญหน้ากับปัญหาอุปสรรคต่างๆ อย่างไม่สิ้นหวัง

คนเราต้องการให้ชีวิตก้าวเดินไปข้างหน้า จึงบอกตัวเองเสมอว่าคนที่ไม่ผิดพลาดคือคนที่ไม่ทำอะไรเลยเมื่อผิดพลาดแล้วต้องยอมรับมัน แล้วก้าวเดินต่อไปให้ได้ บทเรียนชีวิตที่ดีที่สุดล้วนเกิดจากความผิดพลาดของตนเอง ในอดีตความผิดพลาด คือประสบการณ์และพลังใจอันยิ่งใหญ่อย่ายึดติด กับอดีต อย่าสิ้นหวังกับความผิดพลาดที่ผ่านไปแล้ว ไม่มีคำว่าสายสำหรับการ เริ่มต้นเพื่อก้าวเดินต่อไป
เมื่อยังมีวันพรุ่งนี้ มีชีวิตก็ยังมีความหวัง ทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาเป็นประสบการณ์ที่ทำให้ชีวิตมีคุณค่ามากขึ้น ซึ่งคนเราจะมีความแข็งแกร่งขึ้น หาก สามารถฝ่าฟันขวากหนามอุปสรรคต่างๆ ไปได้

การเผชิญกับปัญหาอุปสรรคของคนเราถือว่าเป็นเรื่องปกติ หากหลีกเลี่ยง มันไม่ได้ก็จงสนุกกับมัน เมื่อเผชิญกับปัญหาที่เลวร้ายก็อย่าคิดว่าปัญหานั้นเลวร้ายมากมายกว่าคนอื่น ให้มุ่งคิดว่าคนอื่นจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับปัญหาที่หนักหนามากมายกว่า นักปราชญ์เคยกล่าวเอาไว้ว่า ในขณะที่ท่านกำลังเสียใจเพราะไม่มีรองเท้าใส่ ท่านควรคิดถึงคนที่เขาไม่มีแม้กระทั่งเท้า หรือหากท่านเสียใจที่ไม่มีเท้าก็ต้องระลึกว่ายังมีอีกหลายคนที่ไม่มีทั้ง เท้า และทั้งแขน

บางครั้งคนเราก็เกิดความรู้สึกท้อแท้ เหนื่อยล้า คิดว่าปัญหาที่มีมันหนักหน่วงเกินกว่าจะรับได้แล้วไม่รู้จะจัดการกับปัญหา นั้นอย่างไร ก็ลองมองต่างมุม มองแง่บวก หรือพักปัญหานั้นไว้ แล้วมองไปรอบๆ ตัวเรา ยังมีผู้คนมากมายที่เขามีปัญหามากมายเหมือนๆ กันกับเรา หรือมีปัญหาสาหัสกว่าเราเป็นร้อยเท่าพันเท่า ไม่ใช่มีแต่เราคนเดียวที่เจอปัญหา โดยบ่อยครั้ง กำลังใจเป็นทางออกที่สำคัญที่สุด ทั้งกำลังจากตนเอง และกำลังใจจากคนรอบข้าง

เมื่อต้องประสบกับปัญหา คนเราทุกคนก็ต้องการกำลังใจ เพื่อที่จะผ่าน ปัญหานั้นๆ ไปให้ได้ แม้แต่รอยยิ้มที่เกิดขึ้นด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์ที่เรามีให้กับตนเองมันอาจจะ แฝงไปด้วยคุณค่าที่งดงามทำให้เราผ่อนคลายจากความ เหนื่อยล้า ท้อแท้ กลับมามีความหวังสดใสอีกครั้งได้อย่างน่ามหัศจรรย์ รอยยิ้ม และเสียงหัวเราะที่คนเรามอบตนเอง และมอบให้กับคนรอบข้างอย่างไม่มีเงื่อนไข มันเป็นความงดงามที่สามารถแทนค่าเป็นกำลังใจซึ่งกันและกันได้

หลายๆ คนมักนำพาตนเองให้จมอยู่กับปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว โดยไม่ยอม ลุกก้าวเดินไป มัวแต่เจ็บปวดกับสิ่งที่เกิดขึ้นจนขาดสติ อยู่อย่างคนสิ้นหวัง เสมือนกับหมดสิ้นแล้วทุกสิ่งทุกอย่าง แต่จริงๆ แล้วหากคนเราลองมองต่างมุมว่าปัญหาเป็นเพียงความผิดพลาดหรือขวากหนามที่ผ่าน มาแล้วก็จะผ่านไป ใช้มันเป็นบทเรียนที่สอนให้เรามีกำลังใจ และสร้างพลังให้เราก้าวเดินไปข้างหน้า อย่างมั่นคง มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นกำลังในการต่อสู้กับปัญหา และนำชีวิตไปสู่เป้าหมายที่แต่ละคนต้องการ

การสร้างกำลังใจที่มีค่ามากที่สุด คือ การให้กำลังใจตนเอง คนเราต้อง เริ่มต้นที่ตัวเอง พึ่งตนเองก่อนที่จะพึ่งคนอื่น ตนต้องเป็นที่พึ่งแห่งตนต้องรู้จักให้กำลังใจตัวเอง ด้วยการฝึกตนให้รู้จักมองต่างมุม สร้างนิสัยให้มองโลกในแง่ดี มีทัศนคติต่อสิ่งต่างๆ ในมุมบวก และรู้จักการแบ่งปันกำลังใจดีๆ ให้กับบุคคลรอบข้างด้วยความจริงใจ ใส่ใจซึ่งกันและกันกำลัง (ใจ)คือ กำลังสำคัญของการสร้างชีวิตสู่ความสุข

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปรัชญาการทำงาน และการดำเนินชีวิต


ดร.เทียม โชควัฒนา

  • รู้น้อยไม่เกี่ยงงาน คนเราหากมีความรู้น้อยต้องไม่ท้อถอย หรือ เลือกงาน เพราะการทำงานคือหนทางเพิ่มความรู้และประสบการณ์
     
  • เที่ยงธรรมและเยือกเย็น ผู้บริหารที่ดีต้องปกครองคนด้วยความเที่ยงธรรม และ สุขุมเยือกเย็นเป็นสำคัญ
     
  • ขยัน อดทน รักษาเครดิต คบคนดี อย่าเอาเปรียบใคร และ ไม่สร้างศัตรู คนที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต ต้องมีความขยัน อดทน ประพฤติตนน่าเชื่อถือ รู้จักคบคนดีเพราะคนดีย่อมนำพาไปสู่สิ่งดีๆ และที่สำคัญไม่ควรเอาเปรียบหรือเป็นศัตรูกับผู้อื่น
     
  • เป็นร่มเงาให้ประโยชน์สุข ต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาและอุดมด้วยดอกผลอันเอื้อประโยชน์แก่ผู้ปลูกทำนุบำรุง และคนทั่วไปฉันใด องค์กรที่เจริญเติบโตมั่นคง ย่อมควรจะเอื้อประโยชน์และเกื้อกูลแก้บุคคลากรและสังคมฉันนั้น
     

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อคิดจากหนังสือ ‘มันไม่เศร้า…เพราะเราเลือกได้’ It’s not so sad


“ถามว่าเคย “ท้อแท้ไหม”
กับความเป็นอยู่หลังอุบัติเหตุ
ก็มีบ้าง แต่คงไม่เกิน 2 ครั้งในรอบ 7 เดือน
ที่ผ่านมา ซึ่งทุกครั้งที่ท้อ
ก็ไม่เคยคิดฆ่าตัวตาย ไม่ร้องไห้
ใช้เวลากับความรู้สึกนี้ ไม่เกิน 3 นาที
แล้วก็เป็นเจี๊ยบคนเดิม”

‘มันไม่เศร้า…เพราะเราเลือกได้’ It’s not so sad เป็นหนังสือไดอารี่ชีวิตเล่มที่ 2 ของ เจี๊ยบ สุนันทา แซ่เฮ้า ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจากเหตุการณ์รถมินิบัสทับร่าง(กลางลำตัว) เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 อุบัติเหตุในครั้งนั้นอวัยวะทำให้อวัยวะหลายอย่างในตัวเธอเสียหาย เช่น ตับแตก ปอดแตก ลำไส้ฉีก ม้ามแตก โอกาสกลับไปใช้ชีวิตปกติเกือบเป็นศุนย์ เธอต้องนอนอยู่โรงพยาบาลเป็นปี แต่ช่วงเวลาเหล่านั้นไม่ได้สูญเปล่า เธอยังอุตสาห์มีผลงานมาให้คนที่กำลังท้อแท้ได้อ่านสร้างกำลังใจกันถึง 2 เล่ม น่าชื่นชมครับ
“คนเราส่วนใหญ่ ก็อยู่ด้วยความหวัง และฝัน ที่ไม่มีใครรู้ได้ว่าจะเป็นจริงเมื่อไร แต่ก็ยังดีกว่าจะทิ้งความหวังในยามที่เราต้องการมากที่สุด”
“สิ่งหนึ่งที่มันหายไปในพริบตา แล้วต้องเร่งสร้างขึ้นมาใหม่คือ ฝัน
“เราจะยอมแพ้ได้ ก็ต่อเมื่อเราหมดลมหายใจ ตราบใดที่เรายังมีลมหายใจอยู่ …เราต้องสู้”
“เวลาของทุกคนเท่ากัน แต่การใช้เวลาของแต่ละคนย่อมไม่เท่ากัน จึงไม่แปลกเลยที่บางคนอาจจะพูดว่า ‘ยังไม่ได้ทำอะไรเลย’ “
“ความอดทนไม่ได้ทำให้เราหมดหวัง ในทางกลับกัน ถ้าเราค่อย ๆ หมดความอดทน ความหวังที่เป็นอนาคตข้างหน้าก็จะดูริบหรี่ลง”
“ความเข้มแข็งจะสร้างสิ่งมหัศจรรย์ให้กับมนุษย์เสมอ …แต่อาจจะไม่ทุกครั้งที่จะเห็นผลก็ได้”
“เราทุกข์เพื่อเรียนรู้ …ไม่ได้ทุกข์เพื่อกำหนดชีวิตเรา”
“ความทุกข์ …มันจะหมดไปจากใจของเราได้ ถ้าเรายอมรับความเป็นจริงในสิ่งที่ทำให้เราเป็นทุกข์”
“Never give up = อย่ายอมแพ้”
“มนุษย์เกิดมาเพื่อเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้แต่ละคนย่อมแตกต่างกันออกไปตามสิ่งแวดล้อมและสถานภาพ …กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นทั้งชีวิต คือ การอดทนและต่อสู้กับอุปสรรคที่ต้องเผชิญ ให้ผ่านไปได้ด้วยดี”
“ก้าวไป อย่าหันมามองว่าเราเจ็บ ให้หันมามาองว่าเราเจ็บเพราะอะไร แล้วอย่าเจ็บอย่างนั้นอีก”
“ฟ้าหลังฝนมักสวยงามเสมอ ถึงแม้จะอึมครึมบ้าง แต่ก็ต้อสว่งสดใสอย่างแน่นอน
ถ้าเราเปิดตามองด้วยความรู้สึกที่ดี ไม่มีอะไรหรอกที่มืดมน”

“จงยิ้มในวันที่เป็นสุข ให้ทุกข์ในวันนี้เป็นครู”

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

สูตรลับสู่ความสุขของท่านพุทธทาสสำหรับปีใหม่นี้!!!

สูตรลับสู่ความสุขของท่านพุทธทาสสำหรับปีใหม่นี้!!!
หัวใจที่เบิกบาน
คำดีๆของท่านพุทธทาส สำหรับปีใหม่นี้
ให้ละ 3 = โลภะ โทสะ โมหะ
ให้ทำ 3 = ทาน ศีล ภาวนา
ให้นึก 3 = พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ให้หา 3 = สะอาด สว่าง สงบ
4x3 = 12  พอแล้ว
  • จำสิ่งที่ควรจำ ลืมสิ่งที่ควรลืม
  • ทำสิ่งที่ควรทำ เลิกสิ่งที่ควรเลิก
มิฉะนั้นจะจมอยู่ในนรกตลอดเวลา!!!