ความเร่งรีบของสังคมเมือง และความเจริญก้าวหน้าของโลกทำให้ชีวิตมีการแข่งขันกันมากขึ้น ต้องทำงานหนัก เพื่อให้มีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย เมื่อทำงานหนักมากขึ้นอาจส่งผลให้เป็น "โรคติดงาน (Workaholic)" หรือ "โรคออฟฟิศซินโดรม (OfficeSyndrome)" ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า "โรคบ้างาน" เดิมพบมากในชายชาวญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันพบในสังคมไทยแล้ว
โรคบ้างานมักเกิดกับผู้ที่มีบุคลิกเป็นคนสมบูรณ์แบบ เจ้าระเบียบ ชอบแข่งขัน มีความทะเยอทะยาน เอาจริงเอาจัง มีความสุขจากการทำงาน และมีจิตใจคิดวนเวียนอยู่กับการทำงาน
อาการเบื้องต้นในด้านร่างกาย คือ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดท้ายทอย สายตาพร่ามัว ปวดกล้ามเนื้อตา ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกาย จนกลายเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคกระเพาะ เบาหวาน และความดัน เป็นต้น ส่วนอาการในด้านอารมณ์ คือ กลายเป็นผู้ที่มองอะไรขวางหูขวางตาไปหมด เกรี้ยวกราดกับเพื่อนร่วมงาน การพูดคุยไม่เหมือนเดิม จะให้ความสนใจแต่เฉพาะในเรื่องของการทำงาน จนส่งผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว
หากมีอาการเบื้องต้นเหล่านี้ สามารถเริ่มรักษาได้ด้วยตนเอง ปรับพฤติกรรมลดความเครียดจากการทำงานที่หนักเกินพอดี ด้วยการใช้เวลาทำงานกับเวลาพักผ่อนให้สมดุลกัน และควรมีการผ่อนคลายในระหว่างการทำงาน เช่น หลับตา หายใจลึกๆ สักพัก และระหว่างเวลาทำงานในทุก 1 ชั่วโมง ควรใช้สมอง 45 นาที แล้วพัก 10-15 นาที
หากไม่รู้สึกดีขึ้น สามารถ์ขอคำปรึกษาได้ ที่ "สายด่วนสุขภาพจิต โทร. 1323" หรือปรึกษาคลินิกคลายเครียด ที่มีอยู่ในหน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิต
โรคบ้างานมักเกิดกับผู้ที่มีบุคลิกเป็นคนสมบูรณ์แบบ เจ้าระเบียบ ชอบแข่งขัน มีความทะเยอทะยาน เอาจริงเอาจัง มีความสุขจากการทำงาน และมีจิตใจคิดวนเวียนอยู่กับการทำงาน
อาการเบื้องต้นในด้านร่างกาย คือ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดท้ายทอย สายตาพร่ามัว ปวดกล้ามเนื้อตา ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกาย จนกลายเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคกระเพาะ เบาหวาน และความดัน เป็นต้น ส่วนอาการในด้านอารมณ์ คือ กลายเป็นผู้ที่มองอะไรขวางหูขวางตาไปหมด เกรี้ยวกราดกับเพื่อนร่วมงาน การพูดคุยไม่เหมือนเดิม จะให้ความสนใจแต่เฉพาะในเรื่องของการทำงาน จนส่งผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว
หากมีอาการเบื้องต้นเหล่านี้ สามารถเริ่มรักษาได้ด้วยตนเอง ปรับพฤติกรรมลดความเครียดจากการทำงานที่หนักเกินพอดี ด้วยการใช้เวลาทำงานกับเวลาพักผ่อนให้สมดุลกัน และควรมีการผ่อนคลายในระหว่างการทำงาน เช่น หลับตา หายใจลึกๆ สักพัก และระหว่างเวลาทำงานในทุก 1 ชั่วโมง ควรใช้สมอง 45 นาที แล้วพัก 10-15 นาที
หากไม่รู้สึกดีขึ้น สามารถ์ขอคำปรึกษาได้ ที่ "สายด่วนสุขภาพจิต โทร. 1323" หรือปรึกษาคลินิกคลายเครียด ที่มีอยู่ในหน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิต
ที่มา http://www.lib.ru.ac.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น