คำคม

ปัญหามีไว้ให้หาปัญญา อุปสรรคมีไว้ให้ฝึกหาทางออก วันไหนที่มีความสุข วันนั้นอย่าทำความสุขในชีวิตหล่นหาย

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

E. coli : อี. โคไล แบคทีเรียร้ายใกล้ตัวเรา

     ในรอบไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มนุษย์โลกได้แตกตื่นกับเชื่อโรคสายพันธ์ใหม่อีกแล้ว คราวนนี้มาในนาม Escherichia coli (“เอสเชอริเชีย โคไล” หรือ “เอเชอรีเกีย โคไล” ) หรือเรียกโดยย่อว่า E.coli : อี.โคไล เป็นแบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์ม เป็นตัวชี้การปนเปื้อนของอุจจาระในน้ำ มีอยู่ตามธรรมชาติในลำไส้ใหญ่ของสัตว์และมนุษย์ แบคทีเรียชนิดนี้ทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อยที่สุด ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว หรือเป็นน้ำ แต่อาการมักไม่รุนแรง เพราะทั้งเด็ก และผู้ใหญ่มักมีภูมิต้านทานอยู่บ้างแล้ว เนื่องจาก ได้รับเชื้อนี้เข้าไปทีละน้อยอยู่เรื่อยๆ เชื้อนี้มักปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำ หรือ มือของผู้ประกอบอาหาร ปกติเชื้อเหล่านี้อาจพบในอุจจาระได้อยู่แล้วแม้จะไม่มีอาการอะไร มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว กัมพูชา อินโดนิเซีย เป็นต้น แต่ทั้งนี้ แบคทีเรียE.coli : อี.โคไล นั้นมีอยู่หลายชนิด แต่เชื้อแบคทีเรียE.coli : อี.โคไลที่ระบาดอยู่ในทวีปยุโรปนั้น เป็นเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ชนิด โอ104 ผลิตสารพิษชิก้า (STEC) ซึ่งเป็นเชื้อชนิดที่มีความรุนแรงมาก และเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิ 35-37 องศาเซลเซียส
เชื้อE.coli : อี.โคไล แพร่สู่คนได้อย่างไร
เชื่อแบคทีเรียE.coli : อี.โคไลจะแพร่สู่คนได้จากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อแบคทีเรีย ชนิดนี้ปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเชื้อชนิดนี้มักจะปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่ได้รับการปรุงไม่ถูกสุขลักษณะ

เมื่อติดเชื้อ แบคทีเรียE.coli : อี.โคไล แล้ว จะมีอาการอย่างไร

E.coli : อี.โคไล
E.coli : อี.โคไล
เริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงเล็กน้อย จนกระทั่งรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และมีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลว อาจจมีเลือดปน มีไข้ อาเจียน ถ้า หากไม่หายภายใน 10 วัน ควรไปพบแพทย์เป็นการด่วน ไม่เช่นนั้นผู้ป่วยจะเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก และไตวาย อาจจะทำให้เสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้ผู้ป่วยไม่ควรรับประทานยาระงับการถ่ายอุจจาระ เพราะยาประเภทนี้จะทำให้อาการป่วยรุนแรงขึ้นกว่าเดิม
การป้องกันและรักษาเมื่อได้รับเชื้อE.coli : อี.โคไล
สำหรับวิธีป้องกันเชื้อ แบคทีเรียอีโคไล ในเบื้องต้น คือ
1. รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ปรุงสุข งดทานอาหารแบบสุขๆ ดิบๆ
2. ควรเก็บอาหารประเภทเนื้อสัตว์ไว้ในอุณหภูมิต่ำเพื่อป้องกันการแพร่เชื่อแบคทีเรียE.coli : อี.โคไล
3. สำหรับผักสด ควรล้างน้ำให้สะอาด โดยการปล่อยน้ำไหลผ่านผักประมาณ 2 นาทีเพื่อล้างแบคทีเรียE.coli : อี.โคไล
4. ในการประกอบอาหารควรปรุงให้สุกในระดับอุณหภูมิ 71 องศาเซลเซียสขึ้นไป
5. ยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมืออยู่เสมอ
6. เมื่อมีอาการท้องเสียขั้นรุนแรง ควรไปพบแพทย์โดยด่วน และอย่ารับประทานยาระงับถ่ายอุจจาระ เพราะยาประเภทนี้จะทำให้อาการป่วยรุนแรงขึ้นกว่าเดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น