คำคม

ปัญหามีไว้ให้หาปัญญา อุปสรรคมีไว้ให้ฝึกหาทางออก วันไหนที่มีความสุข วันนั้นอย่าทำความสุขในชีวิตหล่นหาย

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Slow Life... สูตรความสุข

ชีวิตช้าๆ ที่มีคุณค่า คือชีวิตที่มั่นคงด้วยสติ มากด้วยสมาธิ จดจ่อกับสิ่งที่ทำด้วยความจริงจัง จริงใจ ทำอะไรอย่างรู้สึกรอบคอบ มองมุมสูง คิดรอบด้าน ...วางแผนที่ดี แล้วใช้คำว่า "วินัย" นำทางเราไปสู่ความสำเร็จ เขาบอกว่า ชีวิตรายวันของเรา จะมีค่ามากขึ้น ถ้าเรารู้จักเพิ่มค่าให้กับมัน
หลายคนอาจเคยได้ยินกระแสการใช้ชีวิตให้ช้าลงแบบ Slow Life มาบ้างแล้ว Slow life คืออะไร เราลองมาทำความรู้จักกันดีกว่า

Slow Life
คือเรื่องราวที่น่าสนใจของการดำเนินชีวิตของพลเมืองชาวคาเกะกาวา จ.ชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ที่ใช้ชีวิตอย่างช้าๆ แต่เปี่ยมด้วยคุณภาพ ทำแล้ว จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี ชีวิตรื่นรมย์ มีความสุขมากขึ้น ตามหลักปฏิบัติ 8 ข้อ ดังนี้
1.Slow Paceรณรงค์ให้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับการเดินเท้าไปยังสถานที่ต่าง ๆ แทนการใช้รถยนต์ เพราะนอกจากจะได้ยืดเส้นยืนสายออกกำลังกายไปในตัว แล้วยังได้ชื่นชมสภาพความเป็นอยู่ของเมืองยามที่เดินผ่าน และยังช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนได้ด้วย
2.Slow Wear หันมาใช้เสื้อผ้าอาภรณ์ในแบบพื้นเมืองที่ผลิตจากวัตถุดิบในท้องถิ่น ถือเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมเครื่องแต่งกายไปในตัว
3.Slow Foodรักษาวัฒนธรรมทางอาหาร รับประทานอาหารเมนูพื้นบ้านที่ปรุงจากวัตถุดิบท้องถิ่น เน้นความสะอาด ปลอดสารพิษ เลี่ยงการรับประทานอาหารจานด่วนที่เชื่อว่าทำให้ชีวิตขาดสมดุล
4.Slow Houseปลูกบ้านตามประเพณีและวัฒนธรรมให้เป็นไปตามรูปแบบ เช่น ชาวญี่ปุ่นจะใช้ไม้ไผ่ มาเป็นวัสดุสำคัญในการสร้างและตกแต่งบ้าน สอดคล้องกับลักษณะสภาพภูมิประเทศ
5.Slow Industry ระบบอุตสาหกรรมต้องใส่ใจในสิ่งแวดล้อม กลมกลืนกับเกษตรกรรม ป่าไม้ เน้นใช้แรงคนมากกว่าแรงเครื่องจักร
6.Slow Education การเรียนไม่ใช่การท่องจำบทเรียนและสอบอย่างเคร่งเครียด แต่ต้องเป็นไปอย่างเพลิดเพลิน ควบคู่ไปกับกีฬา และงานอดิเรก
7.Slow Aging ใส่ใจเติมสิ่งดี ๆ ให้กับร่างกายและจิตใจ เรียนรู้วิถีชีวิตของคนที่มีสุขภาพกายใจที่เข้มแข็ง เพื่อปรับใช้ช่วยชะลอความแก่ และอายุที่ยืนยาว
8.Slow Life ทำได้ทั้ง 7 ข้อข้างต้น ผลตอบแทนที่ได้ก็จะมีความสุขกับชีวิตที่แช่มช้า แบบได้คุณภาพ และดีกว่า Fast Life

หลัก 8 ประการข้างต้น ค่อนข้างจะสอดคล้องกับแนวคิดการอยู่อย่างพอเพียง หรือ MOSO ของไทย คำว่า MOSO หรือ Moderation Societyคือ การใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เดินทางสายกลาง หรือใช้ชีวิตแบบพอดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ใช้ชีวิตให้ช้าลง ไม่เร่งรีบ ก็จะทำให้มีความสุข สุขภาพจิตดีขึ้นเช่นกัน

เทคนิควิธีการใช้ชีวิตให้ช้าลง ไม่ใช่เรื่องยาก อาจเริ่มตั้งแต่การรับประทานอาหารในแต่ละวัน พยายามทานใช้ช้าลง เคี้ยว 15 ครั้งก่อนกลืนจะช่วยให้ทานน้อยและย่อยง่าย หรือการหายใจ ให้ใช้เวลาเพียงแค่ 15 นาทีต่อวันสูดลมหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ หายใจออกยาวๆ เพื่อให้ปอดฟอกออกซิเจนและขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้หมด ปอดจะสดชื่นและมีพลังเพิ่มขึ้น และควรประกอบกับการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ จะทำให้สุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว ลองทำดู เพื่อคุณภาพชีวิตจะดีขึ้นของตัวคุณเอง

ขอบคุณ :
http://www.megawecare.co.th/thai/newsletter_detail.asp?id=64

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น